สวัสดี...ครับ
ไม่ได้เขียนบทความหัวข้อใหม่ๆ มานานพอสมควร แต่ไม่ได้หายไปใหนนะครับ เพราะยังคงเขียนข้อมูลเพื่อเสริมบทความ และ สร้างวีดีโอเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมโฟโต้ชอป CS6 และโปรแกรมที่ใช้ร่วมกันอยู่เสมอ
ช่วงนี้พอจะมีเวลาก็เลยเปิด โปรแกรม Chaoscope ที่ใช้สำหรับการสร้างภาพ Fractal 3D ขึ้นมาปัดฝุ่นเพราะลอง Search ใน Google ไม่เห็นมีใครเขียนวิธีการใช้เป็นภาษาไทย ก็เลยอยากเขียนบทความสำหรับเพื่อนๆ ที่ติดตามเว็ปไซด์นี้ ได้นำไปใช้ร่วมกับการแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโต้ชอป โดย สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็น ภาพ Background หรือ นำไปเสิรมในการแต่งภาพ และยังสามารถนำลวดลายสวยงามเหล่านี้มาสร้างเป็น Brush หรือ Pattern และอีกมากมายที่จะคิดสร้างสรรค์กัน ไว้ใช้ในโปรแกรมโฟโต้ชอป
โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่เกิดขึ้นมานานมากแล้ว แต่สำหรับมือใหม่อาจจะไม่รู้จัก และไม่รู้ถึงวิธีการใช้งาน สำหรับเวอร์ชั่นล่าสุด คือ 0.3.1
โปรแกรม Chaoscope เป็นโปรแกรมฟรีที่สามารถหาโหลดมาติดตั้งได้จาก : http://chaoscope.org/download.htm
หลังจากติดตั้งเรียบร้อย เมื่อเปิดโปรแกรม Chaoscope ขึ้นมาจะเห็น Menu bar อยู่ 3 รายการ คือ File / Window / Help ผมจะอธิบายวิธีการใช้แต่ละรายการให้อย่างละเอียด
เมนู File : ประกอบด้วย
- New
- Open
- Batch Processing
- Option
- Quit
New = ใช้สำหรับการเปิดพื้นที่เพื่อสร้าง Attractor
หรือ ภาพ 3D Abstract รูปแบบต่างๆ โดยเลือกจากในส่วนของ Type รวมทั้งใช้สำหรับการปรับตั้งขนาดของภาพ และประเภทการ Render ซึ่งมีด้วยกัน 5 แบบด้วยกัน โดยเริ่มจากการ Render ที่มีความละเอียด รวมทั้งระยะเวลาการ Render จากน้อยไปหามาก แต่ที่นิยมและมักจะใช้กันคือ Light
หลังจากกำหนดเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม F3 เพื่อเป็นการสั่งให้โปรแกรมค้นหา (Search) และแสดงภาพให้เห็น เมื่อภาพแสดงขึ้นมาและต้องการปรับองศาของภาพเพื่อให้เห็นด้านต่างๆ ก็เพียงคลิกเม้าส์ด้านซ้ายค้างไว้ และคลิกลงที่ภาพ จากนั้นก็เพียงปรับหมุนได้ตามต้องการ
Open = ใช้สำหรับเปิดไฟล์งาน หรือ Project File ที่มีการบันทึกไว้ในรูปแบบของโปรแกรมไฟล์ ซึ่งมีนามสกุล .csproj เพื่อนำมาใช้งาน
Batch Processing = ใช้สำหรับสร้างความสะดวกในการ Render ภาพทีละหลายๆ Project พร้อมกันในครั้งเดียว โดยการเลือกจาก Project Folder ที่สร้างไว้ และยังสามมาถกำหนดที่เก็บภาพหลังจากการ Render ไว้ที่ Image Folder ที่ต้องการ
Option = ใช้สำหรับการตั้งค่า 3 ส่วน ได้แก่
- General ตั้งค่าชื่อผู้ใช้งาน และ ภาษาของโปรแกรมที่จะให้แสดง
- Preview สำหรับตั้งค่าลักษณะการสร้างภาพที่จะแสดงให้เห็น
- Folder ที่สำหรับเก็บไฟล์ต่างๆ
Quit = ใช้เมื่อต้องการที่จะออกจากโปรแกรม
เมนู Window : ประกอบด้วย
- Attractor
- View
View = ใช้สำหรับปรับเปลี่ยนความละเอียดในการ Render ภาพที่ได้ตั้งค่าไว้ในตอนแรก (การ render คือ การปรับความละเอียดให้เกิดกับภาพประเภท 3D) และยังใช้สำหรับปรับเปลี่ยนขนาดพื้นที่ของภาพ (Canvas) ที่ส่วนของ Width และ Height ส่วน Scale นั้นใช้สำหรับการปรับขนาดของตัวภาพ และอย่าไปสับสนกับการซูมนะครับ เพราะ Zoom ใช้สำหรับการปรับระยะการมองภาพซึ่งไม่มีผลกับขนาดของภาพ
ส่วนในแถบของ Gamma และ Brightness ใช้หลังจากที่มีการ Render เพื่อปรับความสว่างให้กับภาพ
สำหรับ Speed Grad. , Angle Grad. ใช้เพื่อการปรับ Gradient ด้วยการสุ่ม หรือ Random ที่โปรแกรมสร้างขึ้น วิธีใช้ หรือ ปรับเปลี่ยน ทำได้โดยเมนู View เลือก Random Gradient หรือ ใช้คีย์ลัด ปุ่ม Ctrl + R หรือ จะใช้วิธีคลิกขวาที่แถบใดแถบหนึ่ง แล้วเลือก Random ซึ่งถ้าหากเคยมีการบันทึก Gradient ไว้ ก็สามารถที่จะเปิดไฟล์นั้นมาใช้กับ Project อื่นๆ และยังสามารถที่จะทำการ Reverse แสง สี ที่ตั้งไว้ได้จากส่วนนี้เช่นกัน
เมนู Help : ประกอบด้วย
About = ใช้เพื่อดูรายละเอียด และเวอร์ชั่นของโปรแกรมเท่านั้น
ต่อไปจะพูดถึงเมนูเพิ่มอีก 2 รายการ ... การที่จะเห็นเมนูทั้งสองรายการนี้ได้ จะต้องหลังจากที่ได้มีการสร้าง หรือ เปิด Project จากเมนู New หรือ Open เมนูทั้งสองนี้ได้แก่ เมนู Attractor และ View ซึ่งหลักการใช้งานของทั้งสองเมนูนี้จะเป็นการใช้งานกับตัวภาพโดยตรง
Attractor = หลังจากทำการค้นหาภาพโดยการกดปุ่ม F3 และโปรแกรมได้สุ่มภาพแสดงขึ้นมาให้เห็น ถ้าไม่ชอบภาพนั้นก็สามารถเปลี่ยนภาพใหม่ด้วยการกดปุ่ม F3 อีกครั้งเพื่อให้โปรแกรมแสดงภาพใหม่ขึ้นมา ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ภาพที่พอใจ ... เมื่อต้องการย้อนกลับไปดูภาพก่อนหน้าก็ให้กดปุ่ม Alt + ปุ่มลูกศรที่ชี้ไปทางซ้าย และกลับกัน ถ้าต้องการดูภาพถัดไปก็ให้กดปุ่ม Alt + ปุ่มลูกศรที่ชี้ไปทางขวา... จากนั้นเมื่อได้ภาพตามที่ต้องการแล้ว ก็ทำการ Render เพื่อให้เภาพกิดความคมชัดพร้อมที่จะนำไปใช้งาน โดยการกดปุ่ม F4 ขณะที่ทำการ Render ถ้าต้องการหยุดก็ให้กดปุ่ม Esc ..... สำหรับในส่วนของ Animate คือ การแสดงภาพที่มีการเคลื่อนไหว
- ปุ่ม Shift = สำหรับการเคลื่อนย้ายภาพ โดยกดปุ่มนี้ค้างไว้ จากนั้นให้คลิกที่เม้าส์ด้านซ้าย แล้วนำไปคลิกค้างไว้ที่ภาพขณะที่ทำการลากไปยังส่วนต่างๆ
- ปุ่ม Ctrl or Scroll wheel = สำหรับการปรับขนาดภาพ โดยกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ จากนั้นให้คลิกที่เม้าส์ด้านซ้าย แล้วนำไปคลิกค้างไว้ที่ภาพ ทำการลากขึ้น หรือ ลง หรือ จะใช้วิธีเลื่อนปุ่ม Scroll wheel บนเม้าส์อย่างเดียวก็ได้เช่นกัน (ไม่ต้องกดปุ่ม Ctrl)
View = ใช้สำหรับการปรับตำแหน่ง และขนาดของภาพภาพ... หลังจากที่มีการปรับเลื่อนตำแหน่ง หรือ ขนาดของภาพ เมื่อต้องการให้ภาพนั้นกลับไปยังตำแหน่งตรงกลางบนพื้นที่ของภาพ รวมทั้งกลับไปยังขนาดเดิมก่อนการปรับเปลี่ยน ทำได้โดยการกดปุ่ม Shift + F6 หรือ ปุ่ม F6 ถ้าต้องการใช้คำสั่งในการปรับครั้งเดียวให้เกิดการปรับเปลี่ยนทั้งสองลักษณะ ก็ทำได้โดยการคลิกเลือกที่ Auto Adjust
ส่วนการปรับแสง สี และตำแหน่งของแสงและสีของภาพ ทำได้โดยการคลิกเลือกที่ Random Gradient... จากนั้นถ้าต้องการทำการคัดลอกภาพไปใช้ที่โปรแกรมโฟโต้ชอป ก็ทำได้โดยการใช้คำสั่ง Copy หรือ กดปุ่ม Ctrl + C เหมือนกับโปรแกรมอื่นๆ ทั่วไป แล้วนำไป Paste ได้เลย (การคัดลอกจะทำได้หลังจากมีการ Render ภาพแล้ว)
การบันทึกภาพ สำหรับในส่วนท้ายนี้จะเป็นการบันทึกไฟล์ภาพ ซึ่งสามารถทำได้ 2 แบบ คือ Save as และ Save Image as ทั้งสองรายการจะแสดงอยู่ที่ส่วนของเมนู File หลังจากที่มีการสร้าง หรือเปิด Project
- Save as = บันทึกเป็นไฟล์ Chaoscope เพื่อเก็บเป็น Project ไว้ใช้งานในครั้งต่อไป รวมถึงยังสามารถบันทึกค่าต่างๆ ที่ได้ตั้งไว้โดยการบันทึกไฟล์ในรูปแบบของ Attractor และ View โดยขณะที่ทำการบันทึก ให้ Drop down ในส่วนของ Save as type แล้วเลือกตามที่ต้องการ
- Save Image as = บันทึกภาพเป็นไฟล์ .bmp เพื่อนำไปใช้งานที่โปรแกรมโฟโต้ชอป
บางตัวอย่างภาพที่ทำ Render แล้ว ลองดูครับ เพราะว่าสวยงามมาก
น่าสนใจใช่มั้ยครับสำหรับโปรแกรม Chaoscope ตัวนี้ ยังไงก็ลองฝึกใช้กันดู แล้วส่งภาพที่ทำแล้วมาให้ดูบ้างนะครับ บ๊าย บาย
ผมได้ความรู้มากมายเลย ขอบคุณครับ^_^
ตอบลบ