วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โปรแกรมแต่งภาพ camera raw 7.0




ขอแนะนำโปรแกรมสำหรับผู้ที่รักการถ่ายภาพ จะต้องทำความรู้จักและมีไว้ใช้ โปรแกรมนี้ใช้สำหรับการปรับแต่งภาพถ่ายเบื้องต้น หรือภาพถ่ายที่เน้นเป็นประเภท Raw File แต่ความสามารถก็จัดว่าใช้งานได้ดีพอสมควร เหมาะกับผู้ที่ยังไม่เคยใช้โปรแกรม Photoshop ที่ใช้สำหรับแต่งภาพแบบขั้นสูง





ประโยชน์ของการใช้ โปรแกรม Camera Raw
Global Adjustment เป็นโปรแกรมที่ใช้กันทั่วโลก
Speed and Fast มีความเร็วในการปรับแต่ง และแสดงผลที่รวดเร็ว
Support all Raw Files สามารถปรับแต่งภาพได้หลายประเภท เช่น dng, cr2, orf
Non-Destructive ไม่ทำลายภาพต้นฉบับ สามารถปรับค่าคืนกลับตามเดิมได้
Flexible มีความยืดหยุ่นในการใช้เครื่องมือ และ แถบ Adjustment ต่างๆ ของโปรแกรม
Creative มีเครื่องมือ และ แถบ Adjustment ของโปรแกรมหลายแบบสำหรับใช้สร้างสรรค์ภาพ




ถึงตอนนี้ก็พอรู้จักโปรแกรมขึ้นมากันบ้างแล้วนะครับ ต่อไปก็จะเขียนถึงการใช้งานในส่วนต่างๆ ทีละขั้นตอนให้ได้รู้จักวิธีการใช้งานโปรแกรม บทความนี้จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนทั่วไป ส่วนการใช้เครื่องมือ และส่วนการใช้ Adjustment Panel


บทความ และเทคนิคทั่วไปสำหรับการใช้โปรแกรม Camera Raw

การเปิดโปรแกรม Camera Raw
โปรแกรม Camera Raw นี้เป็น Plug In ตัวหนึ่งที่มีอยู่ในโปรแกรม Photoshop จึงไม่สามารถเปิดโปรแกรมได้ด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นการเปิดโปรแกรม Camera Raw สามารถทำได้ 2 แบบ โดยการเปิดโปรแกรมภายใต้การดูแลของโปรแกรม Photoshop หรือเปิดโปรแกรมภายใต้ภายใต้การดูแลของโปรแกรม Adobe Bridge แต่ทั้งสองแบบนี้จะต้องเปิดโปรแกรม Adobe Bridge ขึ้นมาก่อน แล้วทำการเลือกเปิดจากในส่วนนี้

การเปิดโปรแกรมภายใต้การดูแลของโปรแกรม Photoshop มีวิธีเปิดได้หลายแบบ.. เมื่อเปิดโปรแกรม Bridge แล้ว ให้คลิกภาพที่จะเปิด  จากนั้น

  • ใช้เมนู file เลือก open หรือ open with Adobe Photoshop
  • ใช้คีย์ลัด Ctrl + O
  • ใช้การคลิกขวาที่ภาพ แล้วเลือก open with โปรแกรม Photoshop 
การเปิดโปรแกรมภายใต้การดูแลของโปรแกรม Adobe Bridge มีวิธีเปิดได้หลายแบบ.. เมื่อเปิดโปรแกรม Bridge แล้ว ให้คลิกภาพที่จะเปิด จากนั้น

  • ใช้เมนู file เลือก open in camera raw
  • ใช้คีย์ลัด Ctrl + R 
  • ใช้การคลิกขวาที่ภาพ แล้วเลือก open in camera raw
เวอร์ชั่นของโปรแกรม Camera Raw ในโปรแกรม Photoshop  CS6 จะเป็นเวอร์ชั่น 7.0

ประเภทของภาพซึ่งมักใช้กับโปรแกรม Camera Raw จะเป็นภาพประเภท Raw File ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าใช้กล้องยี่ห้ออะไร เช่น dng, cr2, orf ส่วน Raw file ที่เป็นรูปแบบของ Adobe คือ dng หรือ digital negative  รวมทั้งยังสามารถใช้กับ File ภาพที่เป็น JPEG หรือ TIFF ได้ด้วย


การเปิดภาพให้แสดงที่โปรแกรม Camera Raw 
ไม่ว่าจะเปิดครั้งละหนึ่ง หรือหลายภาพ มีวิธีการทำที่เหมือนกัน โดยการคลิกที่ภาพทั้งหมดที่ต้องการเปิดแล้วทำตามขั้นการเปิดโปรแกรม Camera Raw ด้านบน เมื่อเปิดไปที่โปรแกรม Camera Raw แล้ว หน้าจอส่วนแสดงภาพ จะแสดงแค่ภาพเดียว ไม่สามารถเลื่อนดูภาพอื่นได้ ถ้าต้องการดูภาพใดจะต้องคลิกที่ภาพนั้น แต่มีวิธีที่ทำให้การดูภาพสะดวกขึ้น โดยขั้นแรกให้กดปุ่ม Select All หรือใช้คีย์ลัดโดยกดปุ่ม Ctrl + A เพื่อทำการเลือกภาพทั้งหมดที่ได้เปิดขึ้นมา จากนั้นก็สามารถดูภาพแต่ละภาพได้โดยการกดปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ด ขึ้นหรือลง สิ่งที่ต้องระวังในการเลื่อนดูภาพหลังจากทีทำการ Select All แล้ว อย่านำเม้าส์ไปคลิกที่ภาพอีก เพราะจะทำให้หลุดจากคำสั่ง Select All บางกรณีจำนวนภาพที่เปิดขึ้นมามีมาก ถ้าจะใช้วิธีเลื่อนปุ่มลูกศรเพื่อไปให้ถึงภาพนั้นอาจจะทำให้เสียเวลา แต่ก็ไม่อยากให้หลุดคำสั่งเลือกภาพทั้งหมดไป มีวิธีทำได้โดยให้กดปุ่ม Alt ค้างไว้ แล้วไปคลิกที่ภาพนั้น



ภาพที่ได้รับการปรับแต่งโดยใช้โปรแกรม Camera Raw จะมีเครื่องหมายวงกลมสีเทาแสดงที่มุมบนขวาของภาพ พร้อมแสดงรายละเอียด Metadata ของภาพในส่วนของ Camera Raw ที่แถบ Metadata Panel ของโปรแกรม Bridge



โปรแกรม Camera Raw มีส่วนสำหรับใช้ในการปรับแต่งภาพ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่เป็นเครื่องมือต่างๆ บนแถบเครื่องมือด้านบนของโปรแกรม และส่วนของ Panel ต่างๆ ที่เรียกว่า Adjustment Panel ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของโปรแกรม

แถบเครื่องมือ
แถบรายการต่างๆ ของ Adjustment Panel

การ Convert Raw File ประเภทต่างๆ ให้เป็น Adobe dng Format




ทำได้โดยการ Download โปรแกรม Adobe dng Converters for Windows or Mac ที่เว็บไซด์ ด้านบน
ซึ่งเป็น Freeware เมื่อติดตั้งโปรแกรมแล้ว วิธีการ Convert File ก็เพียงคลิกลาก Raw File ที่ต้องการ Convert มาที่โปรแกรมนี้ แล้วทำการตั้งค่าต่างๆ จากนั้นคลิก Convert หรืออีกวิธีถ้าไม่ต้องการติดตั้งโปรแกรม ก็สามารถใช้โปรแกรม Camera Raw ในการ Convert ได้เช่นกัน โดยขณะที่อยู่ในขั้นตอนการบันทึกภาพ เลือก Save Image แล้วทำการตั้งค่าต่างๆ แต่เน้นที่ส่วนของ Format ให้เลือกเป็น digital negative และส่วนของ Compatibility ให้เลือกเป็นเวอร์ชั่นที่ใหม่ที่สุดซึ่งแสดงอยู่ในแถบรายการ จากนั้นให้เลือก Embed Fast Load Data จะทำให้การปรับแต่งทำได้รวดเร็ว คลิก Save แล้วเลือก Done ไฟล์ dng ก็จะถูกสร้างขึ้นมา



การปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐาน
ขั้นแรกของการปรับแต่งภาพสำหรับโปรแกรม Camera Raw เริ่มจากการใช้ Basic Adjustment Panel เพื่อปรับแต่งค่า White Balance และอื่นๆ เช่น ค่า Exposure, Contrast...ให้กับภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ง่ายที่สุด เมื่ออยู่ในโหมดนี้ขั้นแรกให้คลิกที่แถบ White Balance จะมีรายการต่างๆ ซึ่งเป็น Preset ที่โปรแกรมสร้างไว้ให้เลือกเป็น Auto จะได้การปรับแต่งค่า White Balance ถ้ารู้สึกว่าภาพที่ได้ยังไม่สวยงาม ให้ทำการกดปุ่ม Auto ซึ่งอยู่ถัดลงมาเพื่อปรับแต่งค่าตามรายการต่างๆ แบบอัตโนมัติ ภาพที่ได้จะดูสวยงามขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง แต่ถ้าพิจารณาภาพแล้ว อาจจะรู้สึกยังไม่ดีเท่าที่อยากได้ เช่นภาพที่ได้มีความสว่างไป หรือ มืดไป ก็ให้ทำการปรับค่าของแถบต่างๆ ด้วยตัวเอง การปรับแต่งภาพนี้จะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงแบบทันที



การทำ Synconize ให้กับภาพอื่น
เมื่อปรับแต่งภาพได้เป็นที่พอใจแล้ว สามารถทำการ Sync การปรับแต่งภาพที่ดูแล้วเหมาะสมที่สุดในการปรับให้กับภาพอื่น วิธีนี้ใช้กับภาพที่มีสภาพแวดล้อมแบบเดียวกัน เช่น การถ่ายภาพในสถานที่เดียวกัน แต่มีลักษณะการโพสท่าที่ต่างกัน การทำ Sync นี้จะช่วยลดเวลาไม่ต้องนำภาพทุกภาพมาทำการปรับแต่งที่เหมือนกันทีละภาพ

ขั้นแรกจะต้องเลือกภาพทั้งหมดที่ต้องการปรับแต่งเปิดขึ้นมาที่โปรแกรม Camera Raw จากนั้นวิธีการทำ Sync เริ่มจากคลิกภาพที่ปรับแล้วได้ผลพอใจที่สุด แล้วกดปุ่ม Select All เพื่อทำการเลือกทุกภาพ จากนั้นกดปุ่ม Synchronize จะมีหน้าต่าง  Synchronize แสดงขึ้นมา หน้าต่างนี้จะแสดงหัวข้อต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือทั้งหมดที่ใช้สำหรับการปรับแต่งภาพ

ในการปรับแต่งภาพแต่ละภาพนั้นไม่ได้ใช้ทุกรายการ แต่ก็ไม่เป็นไรถ้าทุกรายการมีการเลือกหัวข้อนั้นไว้ด้วย ซึ่งจะไม่มีผลอะไรเพราะไม่ได้มีการปรับแต่งภาพนั้นด้วยเครื่องมืออื่นๆ แต่เพื่อไม่ให้สับสน ให้คลิกที่ปุ่มที่แถบ Setting จะมีรายการต่างๆ แสดง ก็ให้เลือกเฉพาะส่วนของเครื่องมือ หรือ Panel ที่ได้ใช้ในการปรับแต่งภาพเท่านั้นก็ได้



อีกวิธีหนึ่งที่ค่อนข้างสะดวก หลังจากที่ปรับแต่งภาพแรก และทำการเลือก Select All แล้ว ให้กดปุ่ม Alt แล้วมาคลิกที่ปุ่ม Synchornize เพียงแค่นี้ทุกภาพก็จะถูก Sync ข้อมูลการปรับแต่งจากภาพแรกที่เป็นต้นแบบในการปรับให้กับทุกภาพ

การทำ Synchronize ภาพที่โปรแกรม Bridge
จากหัวข้อก่อนหน้าเป็นการทำ Sync ที่โปรแกรม Camera Raw แต่ส่วนนี้จะทำที่โปรแกรม Bridge วัตถุประสงค์นั้นเหมือนกัน เพียงแต่เป็นการทำให้เกิดผลต่างโปรแกรมกันเท่านั้น วิธีการทำก็ง่ายมากโดยขั้นแรกให้เลือกภาพที่ได้มีการปรับแต่งจากโปรแกรม Camera Raw เรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้คลิกขวาที่ภาพแล้วเลือก Develop Setting เลือก Copy Setting จากนั้นมาคลิกขวาภาพที่ต้องการทำ Sync แล้วเลือก Develop Setting เลือก Paste Setting แต่ถ้าต้องการยกเลิกการ Sync ให้คลิกขวาภาพที่นั้นแล้วเลือก Develop Setting เลือก Clear Setting

การใช้ปุ่ม Done, Cancel, Save Image และ Open Image ของโปรแกรม Camera Raw
หลังจากขั้นตอนด้านบนแล้ว จะมีอยู่สี่ปุ่มที่จะต้องมีการใช้ในขั้นต่อไป เป็นขั้นตอนในการกำหนดภาพ ปุ่มเหล่านี้จะอยู่ที่แถบด้านล่าง ซ้าย และ ขวา ของโปรแกรม เมื่อเลือกปุ่ม Done และ Cancel โปรแกรม Camera Raw จะปิดลงและกลับไปที่โปรแกรม Bridge แต่ถ้าเลือกปุ่ม Save Image และตั้งค่าการบันทึกแล้วจะต้องกดปุ่ม Done อีกครั้งที่โปรแกรม Camera Raw จากนั้นก็จะกลับไปที่โปรแกรม Bridge



  • Save Image ใช้สำหรับการบันทึกภาพ ซึ่งสามารถบันทึกได้หลายประเภทของภาพ
  • Done เป็นการสั่งให้มีการจดจำค่าการปรับแต่งภาพสำหรับการเปิดภาพครั้งต่อไป
  • Cancel ยกเลิกการปรับแต่งภาพทั้งหมด
  • Open Image ภาพจะถูกส่งไปที่โปรแกรม Photoshop 
ถ้าต้องการปรับแต่งภาพเพิ่มเติมโดยใช้โปรแกรม Photoshop ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ให้กดปุ่ม Open Image (ถ้าต้องการส่งภาพจากโปรแกรม Camera Raw ไปทุกภาพ อย่าลืม Select All เพื่อเลือกทุกภาพก่อนนะครับ) เมื่อส่งภาพไปแล้ว โปรแกรม Camera Raw จะปิดลงและโปรแกรม Photoshop ก็จะเปิดขึ้นพร้อมเปิดภาพที่ส่งมาจากโปรแกรม Camera Raw เมื่อปรับแต่งภาพจากโปรแกรม Photoshop เสร็จแล้วให้การทำการบันทึกภาพด้วยทุกครั้ง

ภาพที่มีการปรับแต่งจากโปรแกรม Camera Raw ที่เป็นเวอร์ชั่นเก่ากว่า Camera Raw 7 เมื่อเปิดภาพขึ้นมาที่โปรแกรม  Camera Raw 7 จะมีเครื่องหมายสี่เหลียมและเครื่องหมายตกใจสีฟ้า ไอคอนนี้มีไว้สำหรับอัพเดทให้เข้ากับโปรแกรม Camera Raw รุ่นปัจจุบัน เมื่อคลิกที่ปุ่มนี้การตั้งค่าทุกอย่างที่เคยใช้ในการปรับภาพกับรุ่นเก่า จะถูกปรับค่าเป็น 0 เพื่อให้มาใช้กับการปรับแต่งของเวอร์ชั่นปัจจุบัน ถ้าต้องการปรับแต่ง อาจเริ่มจากการปรับ Auto Tone โดยให้คลิกทีปุ่ม Auto ใน Basic โหมด หรือใช้คีย์ลัด Ctrl + U ก็ได้

การใช้ Histogram ช่วยในการปรับแต่งภาพ
เทคนิคการปรับแต่งภาพให้เกิดความสวยงามอีกตัวหนึ่งซึ่งมีประโยชน์มากคือ Histogram ซึ่งแสดงอยู่ด้านบนขวาของโปรแกรม Camera Raw จะช่วยในการตรวจสอบการ Clipping Color ในส่วนของ Shadow และ Highlight วิธีการใช้ก็เพียงกดปุ่ม Alt แล้วคลิกที่ไอคอน Shadow (สีเหลือง) หรือ ไอคอน Highlight (สีขาว) หรือใช้การกดคีย์ลัด U สำหรับ Shadow และ O สำหรับ Highlight เมื่อกดปุ่มดังกล่าวแล้ว ถ้าภาพนั้นมีการ Clip ก็จะแสดงสีให้เห็น ส่วนของสีที่เห็นคือส่วนที่มีปัญหาของโทนสีที่เกิดกับภาพ จากนั้นก็ให้ทำการปรับแต่งเพื่อให้สีที่เกิดจากการ Clip หายไปโดยการใช้แถบต่างๆ ในโหมด Basic Adjustment


การปรับรายละเอียดของภาพด้วย Workflow Options 
สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดของภาพที่นำมาปรับแต่งด้วยโปรแกรม Camera Raw ได้หลายแบบด้วยกัน โดยการคลิกที่กึ่งกลางของแถบด้านล่างของโปรแกรม จะได้หน้าต่าง Workflow Options แสดงขึ้นมา จากนั้นก็เลือกปรับแต่งได้ตามต้องการตามรายละเอียดของแต่ละส่วน แต่มีสิ่งที่ต้องระวัง เมื่อมีการปรับตั้งค่าใหม่ โปรแกรม Camera Raw จะทำการบันทึกการเปลี่ยนแปลงค่าครั้งล่าสุด นั่นหมายถึงจะมีผลเกิดกับทุกภาพตามค่าที่ได้ตั้งไว้เป็นพิเศษ ดังนั้นถ้าเป็นการเปลี่ยนเฉพาะภาพใดภาพหนึ่ง ให้ทำการเปลี่ยนกับเป็นค่า Default ตามเดิม (ค่า Default ดูได้จากรายละเอียดด้านล่าง)
  • Space = สำหรับเลือก Color Space (Default จะเป็น Adobe RGB (1998))
  • Depth = สำหรับเลือก ประเภทของ Bit/Channel ระหว่าง 8 และ 16 Bit/Channel (Default จะเป็น 8 Bit/Channel)
  • Size = เพิ่ม หรือ ลดขนาด Raw File (Default ตามขนาดภาพจริงแต่ละภาพ)
  • Resolution = ปรับความละเอียดของภาพ (Default 240 pixel/inch)
  • Sharpen for = ปรับประเภทวัตถุที่ใช้ในการแสดงภาพ (Default คือ none)
  • Amount = ตั้งระดับความชัดซึ่งใช้ร่วมกับส่วนของ Sharpen for (Default จะไม่แสดงเพราะขึ้นกับ ค่า Sharpen for) 
  • Open in Photoshop as Smart Object = ถ้าเลือกเมนูนี้จะทำให้ปุ่ม Open Image เปลี่ยนเป็น Open Object และทุกครั้งที่กดปุ่มนี้ ภาพจะถูกเปิดไปที่โปรแกรม Photoshop เหมือนกับการกดปุ่ม Open Image แต่การเปิดภาพนั้นจะมีการเปลี่ยนภาพให้เป็น Smart Object (Smart Object คือคำสั่งที่ใช้กับภาพที่อยู่ในโปรแกรม Photoshop เพื่อทำให้การปรับแต่งต่างๆ กับภาพ ไม่ทำให้ภาพต้นฉบับเกิดความเสียหาย และสามารถเรียกการปรับแต่งต่างๆ นั้นมาแก้ไขได้)

เทคนิค 
  • ถ้าไม่เลือกที่ช่อง Open in Photoshop as Smart Object แต่ต้องการเปิดภาพไปที่โปรแกรม Photoshop ให้เป็น Smart Object... ก่อนที่จะคลิกปุ่ม Open Object ให้กดปุ่ม Shift ค้างไว้แล้วคลิกที่ปุ่ม Open Image
  • ขณะอยู่ที่โปรแกรม Photoshop ถ้าดับเบิ้ลคลิกไอคอน Smart Object ภาพนั้นจะถูกส่งกลับมาเปิดที่โปรแกรม Camera Raw การทำเช่นนี้เพื่อต้องการใช้การปรับแต่งบางอย่างจากโปรแกรม Camera Raw หลังจากปรับแต่งเรียบร้อยก็ให้กดปุ่ม OK ภาพก็จะส่งกลับไปที่โปรแกรม Photoshop อีกครั้งพร้อมกับการอัพเดทภาพที่มีการปรับแต่งจากโปรแกรม Camera Raw

การใช้เครื่องมือต่างๆ บนแถบเครื่องมือของโปรแกรม Camera Raw





เครื่องมือที่แสดงบนแถบเครื่องมือของโปรแกรม Camera Raw มีอยู่ทั้งหมด 14 รายการด้วยกัน คำสั่งคีย์ลัดของแต่ละตัวจะใช้ตัวอักษรกำกับ ซึ่งได้แสดงไว้ที่แต่ละประเภทของเครื่องมือให้แล้ว

การใช้เครื่องมือ Zoom ( Z )
คลิกที่ไอคอนรูปแว่นขยาย แล้วมาลากคลุมส่วนที่ต้องการขยายบนภาพ เมื่อปล่อยเม้าส์ส่วนนั้นก็จะขยายขึ้นมาเท่ากับ 400% แต่ถ้าต้องการขยายโดยไม่ได้เน้นที่จุดใดก็ให้คลิกที่จุดใดก็ได้บนภาพ จะเป็นการ Zoom In คลิกแต่ละครั้งจะขยายครั้งละ 100% ถ้าต้องการ Zoom Out ให้กดปุ่ม Alt ก่อนคลิก

ขณะที่อยู่ในเครื่องมือซูม ถ้ากดปุ่ม Ctrl จะสลับเป็นเครื่องมือ Hand และเมื่อปล่อยปุ่ม Ctrl ก็จะกลับไปเป็นเครื่องมือ Zoom เช่นเดิม

การกำหนดภาพให้เป็นแบบ Fit in View และ การปรับเปลี่ยนขนาด ทำได้หลายวิธี

  • Fit in View ทำได้โดยจะใช้คีย์ลัด Ctrl + 0 หรือ คลิกขวาที่ภาพแล้วเลือก Fit in View หรือ ดับเบิ้ลคลิกที่ Hand Tool ก็ได้ 
  • แต่ถ้าต้องการทำภาพให้มีขนาด 100% ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Zoom tool หรือใช้คีย์ลัด Ctrl + Alt + 0 
  • แต่ถ้าใช้การคลิกขวาที่ภาพก็สามารถเลือกเปอร์เซ็นต์ในการซูมแต่ละขนาดได้  หรือเลือกโดยการคลิกเครื่องหมาย - หรือ + หรือคลิกที่ช่องตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่อยู่แถบด้านล่างซ้ายของโปรแกรมแล้วเลือกขนาดที่ต้องการก็ได้เช่นกัน
การใช้เครื่องมือ Hand ( H )
ใช้เครื่องมือนี้เพื่อทำการลากหาส่วนของภาพที่ได้ทำการขยายใหญ่ เพื่อลากให้ส่วนของภาพที่ต้องการดูมายังตำแหน่งที่ต้องการ โดยเมื่ออยู่ที่เครื่องมือนี้ ก็เพียงคลิกที่ภาพค้างไว้แล้วทำการลากไปมา ถ้ากดปุ่ม Ctrl ขณะที่อยู่ในเครื่องมือนี้จะสามารถทำการ Zoom In แต่ถ้ากดปุ่ม Alt จะสลับเป็น Zoom Out

การใช้เครื่องมือ White Balance ( I )
หลักการขั้นแรกของการใช้โปรแกรม Camera Raw เพื่อการปรับแต่งภาพ จะใช้การปรับที่ Temperature และ White balance ของภาพ โดยใช้เครื่องมือนี้คลิกส่วนทีเป็นสีดำของภาพ หรือสีที่ต้องการเพิ่มความสว่าง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงสีของภาพขึ้นมาทันที หากสีของภาพออกมาดูยังไม่สวยงามเท่าที่ต้องการ ให้ทำการปรับแต่งเพิ่มจากแถบ Adjustment Panel ในส่วนต่างๆ เครื่องมือ White Balance ใช้ได้ดีกับการปรับแต่งที่มีภาพรวมสีของภาพที่ค่อนข้างมืดเท่านั้น

การใช้เครื่องมือ Color Sampler ( S )
เครื่องมือนี้มีไว้สำหรับตรวจสอบค่าสีที่จุดนั้นว่ามีค่าของสีเป็นเท่าไร วิธีใช้ก็เพียงแค่คลิกลงไปตรงจุดที่ต้องการตรวจสอบ จะได้แถบค่าสีซึ่งแสดงเป็นค่า RGB ถัดลงมาจากแถบเครื่องมือของโปรแกรม สามารถทำการคลิกกำหนดจุดได้สูงสุด 9 จุด และสามารถเลื่อนจุดได้โดยการคลิกที่จุดนั้นแล้วลากเลื่อนไปยังจุดอื่น ค่าสีก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย ถ้าต้องการลบจุดใดจุดหนึ่งให้นำเม้าส์ไปคลิกที่จุดนั้น แล้วกดปุ่ม Alt จะเห็นเม้าส์เปลี่ยนเป็นรูปกรรไกรแทนสัญญลักษณ์ลูกศร จากนั้นคลิกที่จุดนั้นก็จะถูกลบออกไป แต่ถ้าต้องการลบออกทุกจุดพร้อมกัน ให้คลิกที่ปุ่ม Clear Samplers



การใช้เครื่องมือ Targeted Adjustment ( T )
คลิกที่ไอคอนเครื่องมือค้างไว้ แล้วเลือก Adjustment Panel ที่ต้องการใช้ในการปรับแต่ง ซึ่งประกอบด้วย  Parametric Curve, Hue, Saturate, Luminance, Grayscale Mix เมื่อเลือกแล้ว กรอบของ Adjustment Panel นั้นก็จะเปิดขึ้นมาที่ส่วนของ Adjustment Panel

การใช้เครื่องมือ Targeted Adjustment ก็คือการใช้ส่วนของ Tone Curve กับ HSL / Grayscale Adjustment Panel ในการปรับแต่งภาพนั่นเอง เพียงแต่การปรับด้วย Targeted Adjustment tool จะทำโดยการคลิกลงตรงจุดบนภาพที่ต้องการปรับแต่ง (แทนการปรับเลื่อนจากแถบต่างๆ ของแต่ละ Adjustment Panel) แล้วลากไปทางซ้าย หรือ ขวา ก็จะเกิดการปรับแต่งขึ้น ซึ่งจุดใดตรงกับแถบใดในส่วนของ Adjustment Panel ที่ได้ทำการเลือกไว้ แถบนั้นก็จะมีการเคลื่อนไหวตามไปด้วย การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดความแม่นยำตรงจุดที่ต้องการปรับแต่งมากขึ้น

การใช้เครื่องมือ Crop (C )
เครื่องมือ Crop จะอยู่ลำดับที่หกบนแถบเครื่องมือของโปรแกรม Camera Raw เมื่อคลิกเลือกเครื่องมือแล้ว ให้ทำการลากลงบนภาพในส่วนที่่ต้องการ Crop เมื่อลากคลุมและปล่อยเม้าส์แล้ว ยังไม่ได้ส่วนที่พอดีกับความต้องการ สามารถทำการปรับแต่งขนาดได้โดยการคลิกที่จุดทั้งหกจุดบนเส้นกรอบของ Crop เพื่อลากปรับขนาด หรือปรับหมุนได้ เมื่อพอใจแล้วให้กด Enter หรือ ดับเบิ้ลคลิกภายกรอบของ Crop ที่สร้างไว้

  • ถ้าต้องการยกเลิกการ Crop หลังจากที่ทำการลากเส้น Crop แล้ว ให้กดปุ่ม Esc หรือกดปุ่ม Ctrl + Z 
  • หากทำการ Crop ภาพและกด Enter เพื่อทำการ Crop แล้วต้องการยกเลิก ก็ยังสามารถทำได้เช่นกัน โดยกดปุ่มอักษร Z หรือ Ctrl + Z แต่ห้ามกดปุ่ม Esc นะครับ เพราะจะทำให้เป็นการออกจากโปรแกรม Camera Raw


การใช้เครื่องมือ Straighten (A )
เลือกเครื่องมือซึ่งอยู่ติดกับ Crop tool จากนั้นคลิกเพื่อสร้างจุดเริ่มต้นแล้วลากไปตามแนวเอียงที่ต้องการปรับให้ตรง สามารถลากได้ทั้งแนวนอน และแนวตั้ง เมื่อปล่อยเม้าส์ ระบบจะไปผูกกับเครื่องมือ Crop เพื่อทำการ Crop ภาพให้ตรง โดยไม่ต้องเสียเวลาไปกดเครื่องมือ Crop จากนั้นกด Enter ก็จะได้ภาพที่ทำการปรับองศาของภาพให้ตรงตามต้องการ

การใช้เครื่องมือ Spot Removal ( B )
ใช้สำหรับทำการ Heal หรือ Clone ภาพ วิธีการใช้ให้คลิกลงตรงส่วนที่ต้องการปรับแต่ง เมื่อปล่อยเม้าส์ จะได้วงกลมแสดงขึ้นมาสองวง
  • วงกลมสีแดงสลับขาว แสดงตำแหน่งที่ต้องการปรับแต่ง 
  • วงกลมสีเขียวสลับขาว ใช้สำหรับเลือกส่วนของภาพที่จะมาแสดงในส่วนของวงกลมสีแดงสลับขาว
จากภาพด้านล่างจะเห็นว่าส่วนที่อยู่ในวงกลมสีแดงสลับขาวแสดงภาพเหมือนกับภาพที่แสดงอยู่ในส่วนของวงกลมสีเขียงสลับขาว


สามารถปรับขนาดวงกลมได้โดยการคลิกที่ขอบของเส้นวงกลม แล้วทำการลากเข้า หรือออก หรือจะปรับจากแถบ Radius ก็ได้ และถ้าต้องการเปลี่ยนตำแหน่งวงกลม ให้ทำการคลิกภายในวงกลมแล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ


เมื่อเลือกเครื่องมือนี้ จะมีแถบเครื่องมือแสดงขึ้นมาทีส่วนของ Adjustment Panel ซึ่งสามารถกำหนดค่าการปรับแต่งได้ต่างๆ ดังนี้
  • Type สามารถคลิกเลือกได้ว่าจะใช้เมนู Heal หรือ Clone การปรับแต่งทั้งสองแบบจะเหมือนกัน ต่างกันเล็กน้อยตรงที่การปรับแบบ Heal จะมีความคมของขอบมากว่าการปรับแต่งแบบ Clone ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการปรับแต่งภาพด้วย เช่นถ้าต้องการสร้าง Pattern ก็ควรใช้แบบ Heal 
  • Radius ใช้สำหรับปรับขนาดของวงกลม
  • Opacity ใช้สำหรับปรับความทึบของสีที่แสดงในส่วนของวงกลมสีแดงสลับขาว
ถ้าต้องการยกเลิกเส้นวงกลมที่กำหนดไว้ ให้คลิกที่เส้นวงกลมใดก็ได้แล้วกดปุ่ม Delete หรือถ้าต้องการยกเลิกวงกลมทั้งหมดที่ได้สร้างขึ้นมาในครั้งเดียว ให้กดปุ่ม Clear All

ถ้าต้องการซ่อนเส้นวงกลม เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจน ให้คลิกที่ Show Overlay หรือกด V

การใช้เครื่องมือ Red Eye Removal ( E )
เชือว่านักถ่ายภาพคงรู้จักกันดีกับภาพที่ถ่่ายมาแล้วมีแสงสีแดงแสดงที่ดวงตา วิธีปรับแต่งโดยเมื่อเลือกเครื่องมือนี้แล้ว ให้ลากคลุมส่วนของดวงตาที่มีสีแดง ส่วนที่อยู่ในขอบเขตที่ลากคลุมไว้จะปรับเป็นสีดำทันที จากนั้นให้ปรับแต่งเพิ่มได้ที่แถบของเครื่องมือซึ่งมีอยู่สองแถบด้วยกัน


  • Pupil Size ปรับขนาดของวงกลมที่ใช้ลากคลุม
  • Darken ปรับความเข้มของสีดำ
การใช้เครื่องมือ Adjustment Brush ( K)
เมื่อคลิกเลือกเครื่องมือนี้จะมีแถบต่างๆ ของเครื่องมือแสดงขึ้นมาเพื่อให้เลือกปรับแต่งภาพ ต้องการปรับอะไรก็ให้เลือกที่แถบนั้นก่อน แล้วจึงมาทาลงบนภาพในส่วนที่ต้องการปรับแต่ง เมื่อทาแล้วยังไม่ได้ผลที่ต้องการ ก็กลับไปปรับที่แถบที่เลือกไว้ก่อนการทาเพื่อปรับเพิ่มได้ หรือจะใช้แถบอื่นก็จะเกิดผลกับส่วนที่ทานั้นเช่นกัน

เมื่อมีการทาลงตรงส่วนที่ต้องการปรับแต่ง จะมีเครื่องหมาย Pin แสดงตำแหน่งให้เห็น ถ้าต้องการทาในส่วนอื่นที่ไม่ติดกับจุดเดิม ให้กดปุ่ม Add บนแถบเครื่องมือก่อนการทา การทาแต่ละจุดบนภาพจะะมี Pin กำกับให้เห็นทุกจุดเช่นกัน เมื่อต้องการปรับแต่งภาพเพิ่มเติมในส่วนเดิม ก็ให้คลิกที Pin นั้นก่อนทำการทา หรือปรับแต่งจากแถบต่างๆ เพิ่มก็ได้เช่นกัน ถ้าต้องการลบบางส่วนจากการทาให้คลิกที่ Pin นั้นก่อนแล้วมาคลิกเลือก Erase บนแถบเครื่องมือ แล้วทำการทาแต่การทาครั้งนี้จะเป็นการทาเพื่อลบสิ่งที่ปรับแต่งไว้ออก ส่วนถ้าต้องการยกเลิกการปรับแต่งส่วนนั้นออกไปเลยให้คลิกที่ Pin นั้นแล้วกดปุ่ม Delete



ขณะที่ใช้เครื่องมือนี้ จะมีเครื่องหมายของหัวแปรงซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่
  • เส้นวงกลมประรอบนอก ควบคุมผลการปรับแต่งไม่ให้เกินจากเส้นนี้
  • เส้นวงกลมทึบด้านใน ส่วนที่แสดงผลการปรับแต่ง
  • พื้นที่ระหว่างเส้นทั้งสองจะใช้ควบคุมและแสดงการฟุ้งกระจายที่เกิดจากการปรับแต่ง 
การปรับขนาดหัวแปรง ใช้การกดปุ่ม [  หรือ  ] ที่เรียกว่าปุ่ม Bracket บนแป้นคีย์บอร์ด เมื่อกดปุ่ม Shift ร่วมด้วย จะใช้สำหรับปรับขนาดวงกลมทึบด้านในของเครืองมือเท่านั้น


การใช้แถบต่างๆ ของ Adjustment Brush Panel


  • New = การเพิ่มจุดใหม่
  • Add = การทาเพิ่มในส่วนเดิม
  • Erase = การลบสิ่งที่ทาไว้ โดยการทาทับจะเป็นการลบการปรับแต่ง
  • Temperature = ปรับสีระหว่างสีฟ้ากับสีเหลือง
  • Tint =ปรับสีระหว่างสี่เขียวกับสี Magenta (ม่วงออกแดง)
  • Exposure = ปรับความสว่างของแสง
  • Contrast = ปรับความคมชัด
  • Highlights = ปรับเพื่อให้เกิดผลกับส่วนที่เป็น Highlight
  • Shadows = ปรับเพื่อให้เกิดผลกับส่วนที่เป็น Shadow
  • Clarity = ปรับให้มีความคมชัดในส่วน Midtone ถ้าต้องการเพิ่มความคมชัดก็สามารถปรับในส่วนนี้ได้
  • Saturation = ปรับความอิ่มตัวของสี
  • Sharpness = ปรับเพื่อให้เกิดรายละเอียดภาพ
  • Noise reduction = ปรับเพื่อลดจุดสีบนภาพ
  • More reduction = ปรับเพิ่มส่วนของ Noise reduction
  • Color = ใช้สำหรับการทาสีบนภาพ สามารถเปลี่ยนสีโดยคลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมซึ่งอยู่ในแถบเดียวกัน เมื่อคลิกแล้วกรอบ Color Picker จะแสดงขึ้นมาเพื่อให้คลิกเลือกสี รวมทั้งกำหนดความสว่างของสีได้จากส่วนนี้ด้วย ถ้ากดปุ่ม Alt จะมีรูปถังสีไว้สำหรับใช้เติมสีลงบนกรอบสี่เหลี่ยมเพื่อเก็บเป็นตัวอย่างสีที่ต้องการใช้เป็น Preset


  • Size = ปรับขนาดของแปรง
  • Feather = ปรับความเบลอขอบของแปรง
  • Flow = ปรับอัตราความเร็วในการเกิดผล
  • Density = ปรับความหนาแน่นที่เกิดขึ้นจากการทา
  • Auto mask = เมื่อเลือกปุ่มนี้จะช่วยทำให้การทาในส่วนที่ต้องเฉพาะเจาะจงขอบเขตของพื้นที่ได้ดีขึ้น ระบบจะช่วยเน้นให้เกิดการทาเฉพาะส่วนซึ่งอยู่ใต้เครื่องหมายที่เป็นส่วนตรงกลางของหัวแปรง ระบบจะเช็คการตัดกันระหว่าง Contrast ของภาพที่ต่างกัน รวมถึงดูในส่วนที่เป็นขอบ เพื่อให้การทานั้นไม่เหลื่อมกัน การแสดงผลก็จะเฉพาะเจาะจงแค่พื้นที่นั้นเท่านั้น เพื่อให้ได้ผลดีควรกำหนดขนาดแปรงให้พอดีกับส่วนที่จะทา อย่าให้ใหญ่มากนัก คีย์ลัดคือ M สามารถกด M เพื่อสลับการเปิดและปิดการแสดง Mask
  • Show mask = แสดงให้เห็นขอบเขตการทาที่ใช้ในการปรับแต่ง เพื่อกำหนดขอบเขตได้แม่นยำขึ้น
  • Show pins = ใช้สำหรับแสดงหรือซ่อน Pin หรือใช้คีย์ลัด V ก็ได้
  • Clear all = ใช้สำหรับลบ Pin ออกทั้งหมด
การใช้เครื่องมือ Graduated Filter ( G )
ใช้สำหรับปรับแต่งภาพซึ่งมีลักษณะการแสดงผลจากมากไปหาน้อย ซึ่งสามารถกำหนดส่วนที่แสดงได้โดยการกำหนดระหว่างจุดสองจุด พื้นที่หลังจุดเริ่มต้น (จุดสีเขียว) จะแสดงผลที่เกิดขึ้น 100% และพื้นที่หลังจุดสิ้นสุด (จุดสีแดง) ที่ 0% ส่วนภายในพื้นที่ระหว่างทั้งสองจุดนี้เป็นลักษณะการแสดงผลจากมากไปน้อย หรือที่เรียกว่า Transition โดยเริ่มจากจุดสีเขียวมาหาจุดสีแดง


เมื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่การแสดงผลโดยการลากคลุมพื้นที่ขอบเขตการแสดงผลแล้ว ถ้าต้องการปรับแต่งเพิ่ม ก็มาปรับที่แถบต่างๆ ซึ่งแสดงอยู่ในส่วนของพื้นที่ Adjustment

จุดทั้งสองสามารถเลื่อนเพื่อปรับเปลี่ยนขนาดได้ โดยการคลิกที่จุดใดก็ได้แล้วลากเพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ใหม่ที่ต้องการ รวมทั้งยังสามารถทำการปรับหมุน (Rotate) แนวของพื้นที่จากแนวตั้งเป็นแนวนอน หรือสลับกัน โดยคลิกที่จุดใดก็ได้แล้วแล้วปรับหมุนได้ตามต้องการ

การสร้างพื้นที่เพื่อปรับแต่งนี้ สามารถสร้างได้หลายส่วนในภาพ โดยการคลิกเลือก New ก่อน แล้วมาทำการคลิกที่ภาพเพื่อเพิ่มขอบเขตส่วนที่ต้องการปรับแต่ง

ถ้าต้องการซ่อนการแสดงเส้นและจุดของเครื่องมือ ให้เลือกคลิกเลือก Show Overlay ที่อยู่ด้านล่างของกรอบเครื่องมือ หรือกดคีย์ลัด V ก็ได้ และต้องการให้แสดงอีกครั้งก็กด V อีกครั้งสลับไปมา

ถ้าต้องการลบเส้นของเครื่องมือการเลือกขอบเขต ให้คลิกที่ปุ่มสีแดงหรือเขียวก็ได้ แล้วกดปุ่ม Delete ถ้าต้องการลบทุกเส้นที่ได้กำหนดขอบเขตไว้ ให้กดปุ่ม Clear All ซึ่งอยู่แถบเดียวกับปุ่ม Show Overlay

สำหรับ Open Preference Dialog ให้กำหนดค่าตาม Default ดีที่สุด ส่วนเครื่องมือในการ Rotate ทั้งสองตัวก็ไม่มีอะไร เพียงไว้ใช้สำหรับปรับหมุนภาพระดับ 90 องศา ทิศทางตามเข็ม หรือ ทวนเข็มนาฬิกาเท่านั้น


การใช้ Adjustment Panel

ส่วนนี้เป็นส่วนที่สองที่ใช้ในการปรับแต่งภาพด้วยโปรแกรม Camera Raw ซึ่งเรียกว่า ส่วนของ Adjustment Panel ประกอบด้วย Adjustment ต่างๆ รวมกันประมาณ 10 ตัวด้วยกัน เรามาเริ่มกันเลยนะครับ

การเรียกใช้ Panel แต่ละตัวสามารถใช้คีย์ลัดในการเปิด โดยการกดปุ่ม Alt + Ctrl + เลขประจำตัวของแต่ละ Panel เริ่มตั้งแต่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,0

การใช้ Basic Adjustment Panel ( 1 ) 
การปรับแต่งจากโหมดนี้ จะส่งผลกับส่วนรวมของทั้งภาพ มักจะใช้กับภาพที Over หรือ Under Exposure แถบที่ใช้ในการปรับแต่งมีส่วนหลักอยู่ 3 ส่วนดังนี้


ส่วนที่หนึ่ง White Balance จะประกอบไปด้วย Preset ต่างๆ ที่โปรแกรม Camera Raw ได้สร้างไว้ การเลือกใช้ก็เพียงคลิกที่แถบถัดจากคำว่า White Balance แล้วเลือกแต่ละรายการเพื่อดูว่าตัวใหนเหมาะสมที่สุด ถ้ายังไม่พอใจจะเลือกเป็น Custom แล้วปรับแต่งเองก็ได้โดยการเลื่อนแถบการปรับแต่งต่างๆ ตามรายการด้านล่าง

  • Temperature สำหรับปรับสีระหว่าง yellow and blue
  • Tint สำหรับปรับสีระหว่าง green and magenta
    • ภายในแถบปุ่ม white balance จะมี preset ต่างๆ แต่ถ้าเราทำการปรับในแถบใดแถบหนึ่งในสองแถบนี้ ที่แถบ white balance จะเปลี่ยนเป็นคำว่า custom
ส่วนทีสอง จะเป็นแถบที่ใช้สำหรับการแต่งปรับเพิ่มเติม
  • Exposure ปรับค่าความสว่าง luminance ของภาพ
  • Contrast ปรับระดับสีดำและสีขาวที่แสดงบนภาพ
  • Highlight ปรับในส่วนของ highlingt คู่กับ white
  • Shadow ปรับในส่วนของ shadow คู่กับ black การปรับส่วนนี้เพื่อให้ภาพเกิดรายละเอียดมากขึ้น
  • Whites ปรับสีขาวให้กับภาพ
  • Blacks ปรับสีดำให้กับภาพ
ส่วนที่สาม
  • Clarity ใช้ปรับค่า mid tone contrast เป็นตัวสนับสนุนแถบ contrast จะมีผลให้เกิดการ De-saturate จึงต้องมีแถบ vibrance กับ saturation เพิ่มขึ้นมา
    • Vibrance ปรับความสดใสให้เกิดกับส่วนที่มี saturate ต่ำ
    • Saturation ปรับความอิ่มตัวของสี

จากนั้นลองตรวจสอบการ Clipping ของสี โดยกดปุ่ม Alt + คลิกที่ก้านของแถบ Shadow and Black ถ้ามีสีดำ แสดงบนภาพแสดงว่ามีการ Clipping ต้องเลื่อนปรับให้สีดำหายไป และที่ก้านของแถบ Highlight and White ถ้ามีสีขาว แสดงบนภาพแสดงว่ามีการ Clipping ต้องเลื่อนปรับให้สีขาวหายไป

การใช้ Tone Curse Adjustment Panel  
Panel นี้จะแบ่งเป็นสองส่วนได้แก่ Parametric Tone Curve และ Point Tone Curve ใช้สำหรับปรับค่า Contrast ให้เกิดกับภาพ วิธีใช้ในแต่ละส่วนจะคล้ายกัน

  • Parametric Tone Curve จะมีแถบแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ highlight, light, shadow, dark การปรับแต่งโดยการเลื่อนแถบของแต่ละส่วนด้านล่างเพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ ส่วนปุ่มสามปุ่มที่อยู่ด้านล่างกรอบ ใช้สำหรับกำหนดพื้นที่ที่จะให้เกิดการแสดงผลจากการปรับแต่งด้วยแถบด้านล่างทั้งสี่แถบ
    • Highlights สำหรับปรับความสว่างที่เกิดกับส่วนของ highlight
    • Lights สำหรับปรับความสว่างที่เกิดระหว่างส่วนของ highlight กับ light
    • Shadows สำหรับปรับความมืดที่เกิดกับส่วนของ shadow
    • Darks สำหรับปรับความมืดที่เกิดระหว่างส่วนของ shadow กับ dark


  • Point Tone Curve ถ้าใครที่เคยใช้โปรแกรม Photoshop จะต้องรู้จักเป็นอย่างดี สำหรับวิธีการใช้ในส่วนนี้ก็เพียงแค่คลิกบนเส้นจะทำให้เกิดจุด แล้วทำลากเพื่อปรับแต่ง ถ้าต้องการลบจุดก็เพียงคลิกที่จุดแล้วกดปุ่ม Delete การลากนี้สามารถลากไปทางซ้าย ขวา และขึ้น ลง ถ้าต้องการเลื่อนจุดก็คลิกที่จุดแล้วลากเลื่อนจุดไปบนเส้นที่ตำแหน่งตามต้องการ หรือจะใช้ Preset ที่โปรแกรมสร้างไว้ให้ก็ได้ โดยกดที่แถบ Curve แล้วเลือก Preset ซึ่งมีทั้งหมดสามแบบด้วยกัน ถ้าต้องการปรับเป็นรายสีก็สามารถคลิกที่ช่องChannel เพื่อเลือกสีที่ต้องการปรับโดยเฉพาะเจาะจงได้ ค่าที่แสดงในช่อง Input คือค่าความ Contrast ของภาพก่อนปรับแต่ง ส่วน Output คือค่าความ Contrast ของภาพหลังการปรับแต่ง
การใช้ Detail Adjustment Panel 
ถ้าต้องการปรับความคมชัดของภาพ สามารถใช้ส่วนนี้ในการปรับแต่ง ซึ่งจะมีเครื่องมืออยู่สองส่วนด้วยกัน คือส่วนสำหรับเพิ่มความคมชัด และส่วนที่ใช้สำหรับลดจุดสีบนภาพ ก่อนปรับแต่งภาพควรปรับภาพให้เป็นขนาด 100% เพื่อจะได้เห็นรายละเอียดของภาพได้ชัดเจน

หลังการปรับแต่งภาพ จะใช้ส่วนใหนในการปรับแต่งภาพก่อนนั้นบอกยาก ขึ้นอยู่กับว่าภาพนั้นมีส่วนใหนที่ต้องให้ปรับก่อน เช่น ถ้าถาพนั้นมีจุดสีมาก Noise ก็ควรทำการปรับลด Noise ก่อน เมื่อปรับลดแล้วอาจทำให้ความคมชัดของภาพลดลง ก็อาจจะต้องมาปรับในส่วนของ Sharpening เพิ่มขึ้นเป็นต้น

  • Sharpening สำหรับปรับความคมชัดของภาพ ถ้ากดปุ่ม Alt แล้วคลิกตามแถบต่างๆ ในส่วนนี้จะเห็นเป็นภาพแบบ Grayscale จะทำให้การปรับแต่งง่ายขึ้น
    • Amount เพิ่มลดความคมชัด
    • Radius ปรับเพิ่มลดรัศมีที่เกิดกับขอบของภาพ
    • Detail ปรับรายละเอียดของภาพ
    • Masking จะแสดงภาพเป็นสองส่วนคือ ดำ และ ขาว เหมือนกับการสร้าง Mask ในโปรแกรม Photoshop คือ ถ้าส่วนใหนเป็นสีขาว จะเป็นส่วนที่มองเห็น แต่ถ้าส่วนใหนเป็นสีดำจะเป็นส่วนที่ถูกปิดบังไว้ สำหรับในส่วนนี้ก็คือเป็นการบิดบังความคมชัดไว้นั้นเอง การทำเช่นนี้สามารถกำหนดได้ว่าส่วนใหนต้องการให้เห็นหรือไม่เห็นความคมชัด


  • Noise Reduction สำหรับปรับในส่วนของจุดสีที่แสดงบนภาพ
    • Luminance ปรับความสว่างรวมของจุุดสีบนภาพ
    • Luminance Detail ปรับความสว่างในส่วนรายละเอียดของจุดสีที่เกิดบนภาพ
    • Luminance Contrast ปรับความสว่างในส่วน Contrast ของจุดสีที่เกิดบนภาพ
    • Color ปรับความสว่างสีของจุดสีที่เกิดบนภาพ
    • Color Detail ปรับความสว่างสีในส่วนของรายละเอียดของจุดสีที่เกิดบนภาพ
การใช้ HSL / Grayscale adjustment panel
การปรับแต่งในส่วนนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ การปรับภาพสีให้เป็นภาพระดับสีเทา Grayscale และ การปรับภาพสีให้มีสีสรรสวยงามโดยปรับจากค่า Hue / Saturation / Luminance

  • การปรับภาพสีให้เป็นภาพระดับสีเทา Grayscale จะต้องคลิกเลือกที่ช่อง Convert to Grayscale ภาพก็จะกลายเป็นโทนสีเทา ถ้าต้องการให้ภาพมีโทนสีที่สวยงาม ให้ปรับแต่งเพิ่มเติมจากแถบต่างๆ วิธีการปรับก็เพียงเลือกแถบสีให้ตรงกับสีของภาพส่วนที่ยังไม่ได้มีการปรับเป็นโทนสีเทา จะทำให้ภาพในส่วนของสีนั้นเกิดความสว่าง หรือ มืด Contrast เพิ่มหรือลดลงได้ ถ้าไม่แน่ใจว่าส่วนใดของภาพเป็นสีอะไร ให้คลิกเลือกที่ช่อง Preview หรือ กด P เพื่อดูสีภาพก่อนเปลี่ยนเป็น Grayscale 
  • การปรับภาพสีให้มีสีสรรทีสวยงามขึ้น เพียงทำการปรับเลื่อนแถบสีต่างๆ ที่แสดงบนภาพ ในส่วนนี้จะแบ่งโหมดของภาพออกเป็นสามส่วน  
    • Hue สำหรับการเปลี่ยนแปลงสี 
    • Saturation สำหรับปรับความอิ่มตัวของสี
    •  Luminance สำหรับปรับความสว่างของภาพโดยรวม
การใช้ Split Toning Adjustment Panel
การปรับแต่งในส่วนนี้ใช้สำหรับปรับแต่งภาพโทนสีเทาให้ดูสวยงามโดยการแยกสีออกมาให้เห็นเด่นชัดจากภาพ Grayscale เพราะฉะนั้นขั้นแรกจะต้องทำภาพสีให้เป็นภาพ Grayscale ก่อน

จากนั้นจึงมาใช้ Panel นี้ในการปรับแต่ง เครื่องมือนในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของ Highlights กับ ส่วนของ Shadows

วิธีทำก็เพียงเลื่อนปรับส่วนของ Highlights or Shadows เพื่อเลือกสีที่ต้องการจะ Split Toning ออกมาให้เห็นบนภาพ เมื่อปรับเลือกสีแล้วจะยังไม่เห็นสีนั้นจนกว่าจะมีการปรับค่า Saturation เพื่อควบคุมการแสดงผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแถบนี้ ถ้าปรับค่าสูงก็จะเห็นผลมาก ส่วนแถบ Balance คือการปรับความสมดุลของการแสดงผลสีระหว่างทั้งสองส่วน



การใช้ Lens Corrections Adjustment Panel 
เป็นการปรับแต่งภาพทีถูกบิดเบือนด้วยเลนส์ของกล้องถ่ายภาพ เช่น ภาพที่ได้ออกมามีรูปทรงที่ถูกบิดเบือนจากความเป็นจริง ในส่วนนี้จะมีอยู่สองแถบคือ Profile และ Manual
  • Profile ใช้สำหรับภาพที่เป็น Raw File หมายถึงภาพนั้นจะมีข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของภาพ เช่น งเลนส์ที่ใช้ในการถ่ายภาพแสดงให้เห็นรายละเอียด และอื่นๆ เมื่อคลิกเลือกในส่วนของ Enable Lens Profile Corrections ภาพนั้นจะถูกปรับแต่งให้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าดูแล้วยังไม่พอใจ สามารถปรับแต่งเพิ่มได้ที่แถบ Distortion และ Vignette ซึ่งอยู่ในส่วนของ Correction Amount ใช้สำหรับปรับแต่งการแก้ไขการบิดเบือนเพิ่มเติมให้ดีขึ้น และสำหรับเติมในส่วนของ Vignette ให้กับภาพได้ด้วย
  • Manual ส่วนนี้มักจะใช้กับภาพที่ไม่ใช่ Raw File เช่น ภาพ JPEG หรือ อื่นๆ จะมีส่วนสำหรับการปรับแต่งก็แบ่งอยู่สองส่วนด้วยกันคือ Transform และ Lens Vignetting การปรับแต่งก็ง่ายมากเพียงเลื่อนแถบต่างๆ แล้วดูผลที่เกิดได้ทันที
    • สำหรับส่วนของ Defringe เป็นการปรับขอบของภาพที่มี Radius ของสี่ซึ่งเกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ที่เป็นขอบขอบภาพให้หมดไป
การใช้ Effects Adjustment Panel
ส่วนนี้ใช้สำหรับการใส่เทคนิคให้กับภาพ Grayscale โดยการเพิ่มจุดสีเข้าไปเรียกว่า Grain จากนั้นก็มาทำ Vignette 


  • Amount = ปรับระดับความมืดและสว่าง
  • Midpoint = การเปลี่ยนรูปทรงที่เกิดกับส่วนกลางของ vignette
  • Roundness = การเปลี่ยนรูปทรงของ vignette
  • Feather = การเปลี่ยนความเบลอขอบของ vignette
  • Highlight = จะมีผลเมื่อการปรับแถบ amount มาทางด้านมืด ใช้สำหรับปรับส่วนที่เป็น highlight ซึ่งถูกกระทบจากการปรับ Amount ให้สว่างขึ้น
การใช้ Camera Calibration Panel
จะใช้ได้กับ raw file เท่านั้น กล้องแต่ละ Brand จะมี raw file ในรูปแบบของกล้อง brand นั้นๆ เมื่อนำมาเปิดกับโปรแกรม camera raw และใช้การปรับแต่งในส่วนนี้ จะสามารถเลือกรูปแบบของ profile ที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้เพื่อการปรับแต่งภาพได้ พร้อมทั้งยังสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมโดยใช้แถบเครื่องมือการปรับแต่งได้อีกด้วย


การใช้ Preset Adjustment Panel
สำหรับส่วนนี้คือส่วนที่ใช้สำหรับเก็บ Preset การปรับแต่งค่าต่างๆ ที่สร้างขึ้น เพื่อความสะดวกในการใช้งานที่มีการปรับแต่งภาพที่มีลักษณะเหมือนกัน เมือสร้าง Preset แล้วทำการตั้งชื่อให้กับ Preset ชื่อของ Preset ก็จะมาแสดงไว้ที่ส่วนนี้ ถ้าต้องการใช้ ก็เพียงเปิดภาพ แล้วมาคลิกชื่อ Preset ที่เราได้สร้างไว้

ส่วนวิธีการสร้าง Preset ให้ทำหลังจากที่ได้ทำการปรับแต่งทุกอย่างให้กับภาพเรียบร้อยแล้ว และต้องการเก็บการปรับแต่งนี้ไว้ จากนั้นให้คลิกทีลูกศรบนแถบ Preset แล้วเลือก Save Setting หรือจะคลิกที่ไอคอน Add Preset ที่อยู่ด้านล่างในกรอบ Preset ก่อนไอคอนถังขยะก็ได้ 

จากนั้นจะมีกรอบ New Preset แสดงขึ้นมา ทำการตั้งชื่อให้กับ Preset แล้วกด OK หรือก่อนที่จะคลิก OK ให้คลิกที่ช่อง Subset เพื่อเลือกเฉพาะในส่วนที่เราใช้ในการปรับแต่งก็ได้ 

ถ้าต้อกการลบ Preset ก็คลิกทีแถบ Preset ที่ได้สร้างไว้ แล้วคลิกที่รูปถ้งขยะด้านล่างของ Preset Panel 



การใช้ Snapshots Adjustment Panel
ใช้สำหรับสร้างขั้นตอนต่างๆ ในการปรับแต่งภาพเก็บไว้ เมื่อต้องการเก็บขั้นตอนใหน ก็ให้กดไอคอน Snapshots Adjustment Panel แล้วมาคลิกที่ไอคอน New Snapshot ที่อยู่ด้านล่างของ Panel จะมีกรอบหน้าต่าง New Snapshot แสดงขึ้นมาเพื่อให้ตั้งชื่อ Snapshot นั้น จากนั้นกดปุุ่ม Done ถ้ามีการปรับแต่งเปลี่ยนแปลงใดๆ กับภาพ แล้วต้องการกลับมายังจุดที่เก็บเป็น Snapshot ก็ให้กดเลือก Snapshot ที่สร้างไว้



บทความสำหรับโปรแกรม Camera Raw ก็ได้เขียนรายละเอียดมาพอสมควร เรียกได้ว่าครอบคลุมกับทุกส่วนของโปรแกรม ผมจะพยายามหาเทคนิคต่างๆ มาเพิ่มเติมให้ตลอด สามารถเข้ามาติดตามอ่านได้ตลอดครับ








3 ความคิดเห็น:

  1. มีประโยชน์มากครับ ผมขอนำวิธีไปสอนนักเรียนนะครับ และของให้ ผ้สร้างบล็อกนนี้มีความสุขมากๆ ครับ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้มากเลยครับ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณมากครับกำลังคิดว่าจะเริ่มเรียนพอดีเลยครับ

    ตอบลบ