บทความที่เขียนนี้จะไม่ได้เขียนละเอียดมากนัก เพราะบางอย่างจะมีการใช้งานที่ค่อนข้างเหมือนกับโปรแกรม Photoshop ที่ได้เขียนไว้ให้อย่างละเอียดมาก ถ้าผู้อ่านไม่เคยใช้โปรแกรม Photoshop ขอให้อ่านทำความเข้าใจกับบทความนั้นก่อน แล้วมาอ่านบทความนี้จะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้น
ก่อนที่จะเริ่มทำการสร้างภาพจากโปรแกรม Illustrator CS6 ขอแนะนำส่วนต่างๆ ของโปรแกรมเพื่อให้ได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับส่วนต่างๆ เพื่อประกอบการใช้โปรแกรมได้อย่างครบถ้วน และเพื่อให้เกิดความสะดวกในการทำงานกับโปรแกรม
การเปิด Tool Option
บางครั้งต้องการทำการตั้งค่าเพิ่มเติมให้กับเครื่องมือแต่ละตัว จะต้องทำการตั้งค่าที่ Option ของเครื่องมือนั้น วิธีการเปิด Tool Option ทำได้โดยดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนเครื่องมือแต่ละแบบ หน้าต่าง Option ก็จะแสดงขึ้นมา
การตั้งค่าในส่วนของ Preference
ใช้สำหรับการตั้งค่าที่ต้องการให้เกิดกับโปรแกรม Illustrator CS6 ซึ่งเป็นค่าที่จะต้องใช้อยู่ประจำสำหรับการทำงานในโปรแกรมนี้ วิธีเปิด Preference ทำได้โดยเปิดจากเมนู Edit - Preference แล้วเลือกรูปแบบของ Preference ที่ต้องการปรับแต่ง หรือจะใช้คีย์ลัด Ctrl + K เพื่อเปิด General Preference ซึ้่งเป็น Preference แรกก็ได้
เทคนิค ถ้าเลือก Use Precise Cursor ในส่วนของ General จะเป็นการเปลี่ยน Cursor ให้เป็นรูปกากบาท
การใช้คีย์ลัด Shortcut Key
เพื่อความรวดเร็วในการใช้คำสั่งในการเลือกเครื่องมือต่างๆ ของโปรแกรม วิธีที่ดีที่สุดคือการใช้คีย์ลัด บทความในส่วนนี้ได้รวบรวมคีย์ลัดทั้งหมดบนแถบเครื่องไว้ให้ เริ่มแรกอาจจะคิดว่ามากไม่น่าจะจำได้ แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อใช้ไปสักพักก็จะจำได้แม่น
การสร้าง Workspace
โปรแกรม Illustrator CS6 ก็เหมือนกับโปรแกรมอื่นในตระกูล Adobe CS ที่สามารถจะปรับเปลี่ยนพื้นที่การทำงานได้หลายรูปแบบจาก Preset ที่โปรแกรมได้สร้างไว้ หรือจะสร้างใหม่เพื่อให้เหมาะกับการทำงานที่ถนัดได้ โดยเมื่อจัดรูปแบบต่างๆ เรียบร้อยก็เพียงกดที่แถบ Workspace แล้วเลือก New Workspace แค่นี้ก็เรียบร้อย
การเริ่มต้นสร้างชิ้นงาน New Document (Ctrl + N)
ใช้เมนู File - New หรือจะใช้คีย์ลัด Ctrl + N ก็ได้ จะได้หน้าต่าง New Document ขึ้นมาเพื่อทำการตั้งค่าต่างๆ ตามรายละเอียดดังนี้
- Name สำหรับตั้งชื่อชิ้นงาน
- Profile มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ แต่ส่วนมากจะเลือกที่ Print
- Number of Artboards สำหรับเลือกจำนวน Artboard ที่ต้องการใช้งาน ถ้าเลือกมากกว่าหนึ่ง จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นคือในส่วนของ Grid, Arrange and Layout ให้กำหนดเพิ่ม
- Spacing ช่องว่างแต่ละ Artboard
- Column จำนวนคอลัมน์ที่ต้องการแสดง
- Bleed คือการกำหนดพื้นที่พิเศษรอบชิ้นงาน เหมะกับการกำหนดเพื่อทำ Name Card ถ้าเป็นงานปกติ อาจจะเพิ่มนิดหน่อยเช่น 0.125 โดยการคลิกที่ลูกศร อันใดก็ได้ เพราะถ้าเราคลิกไอคอน link ที่อยู่ด้านหลังไว้ก็จะปรับตัวเลขให้เท่ากันหมดในทุกส่วน และเมื่อเปิดชิ้นงานขึ้นมาจะเห็นเส้นสีแดงรอบ Artboard Advance ใช้สำหรับกำหนด Color Mode ซึ่งค่า Default จะเป็น CMYK
- Raster Effect ควรเลือก High (300 ppi)
- Preview Mode เลือก Default
- สำหรับในส่วน align to pixel grid ไม่ต้องเลือก
bn 8 |
การเริ่มต้นสร้างชิ้นงาน New Document for Web
รายละเอียดส่วนมากจะเหมือนกับการสร้าง for Print เพียงแต่เปลี่ยนในส่วนของ Profile เป็น Web เท่านั้นสำหรับในส่วนของ Web ไม่ควรตั้งค่า Bleed แต่ให้กำหนด Color Mode เป็น RGB, Raster Effect ควรตั้งเป็น Screen (72 ppi) Preview Mode : Default สำหรับส่วนนี้ให้เลือก align to pixel grid ด้วย
เทคนิค ถ้าดับเบิ้ลคลิกที Hand Tool จะเป็นคำสั่ง Fit to Window แต่ถ้าดับเบิ้ลคลิกที่ Zoom Tool จะเท่ากัยสั่งให้ทำการซูมที่ 100% ส่วนการใช้เครื่งอมือ Hand และ Zoom Took ก็เหมือนกับทีมีในโปรแกรมอื่นๆ ในตระกูล Adobe CS เช่น เมื่ออยู่ในเครื่องมือซูม สามารถกด Spacebar เพื่อเปลี่ยนเป็น Hand Tool สำหรับคลิกเพื่อเลื่อน Artboard ได้ เป็นต้น
การใช้ Rulers, Guides and Grid:
ทั้งสามส่วนนี้จะอยู่ในเมนู View เมื่อคลิกแล้วให้เลือกแต่ละส่วนที่ต้องการแสดง หรือจะใช้คีย์ลัดเพื่อความรวดเร็วก็ได้ โดย Ctrl + R / Ctrl + , / Ctrl + " ตามลำดับ
การใช้เส้น Guide
สิ่งแรกต้องเปิดการใช้งาน Rulers ก่อน จากนั้นคลิกที่แถบของ Rulers เพื่อลากเส้น Guide เมื่อใช้ Guide ควรเปิด Info Panel จะได้เห็นตำแหน่งที่แน่นอน
การเปลี่ยนมาตรวัดบนแถบ Rulers
ถ้าต้องการเปลี่ยนหน่วนการแสดงของ Rulers เช่นจาก Point เป็น Inches หรืออื่นๆ ให้คลิกขวาที่แถบ Rulers แล้วเลือกตามต้องการ หรือจะเปลี่ยนโดยตั้งค่าเอกสารจากการใช้เมนู File - Document Set Up แล้วเปลี่ยนที่ Unit แต่แบบแรกจะเร็วกว่ามาก
การใช้ Preview Modes
เพื่อให้แน่ใจว่าชิ้นงานที่เห็นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เมื่อสั่งพิมพ์ออกมาแล้วจะมีสีสรรที่เหมือนกัน มีวิธีทำได้ 3 วิธีในการตรวจสอบ ได้แก่ ใช้ Mode Outline, Overprint Preview และ Mode Pixel Preview โดยการเปิดใช้ Mode ต่างๆ จากเมนู View เลือก :
- Outline หรือกดคีย์ลัด Ctrl + Y โหมดนี้ใช้สำหรับแสดงรูปร่างทุกส่วนที่ได้สร้างขึ้น
- Overprint Peview หรือกดคีย์ลัด Alt + Shift + Ctrl + Y ทำให้เห็นภาพจริงที่จะพิมพ์ออกมา
- Pixel Preview หรือกดคีย์ลัด Alt + Ctrl + Y ทำให้เห็นภาพจริงที่จะแสดงบนเว็บ หรือ มอนิเตอร์
การสร้าง Customs View
งานที่มีรายละเอียดมากๆ และเป็นชิ้นงานที่ใหญ่ เมื่อทำการซูมเพื่อต้องการดูเฉพาะส่วน มักเสียเวลาในการเลือนหาส่วนที่ต้องการดูเป็นพิเศษ สามารถตัดปัญหาโดยการสร้าง Custom View โดยใช้เครื่องมือซูมลากคลุมส่วนที่ต้องการ จากนั้นใช้เมนู View - New view - ตั้งชื่อแล้วกด OK และเมื่อต้องการเรียกดูส่วนที่สร้าง Customs View ให้ใช้เมนู View - คลิกชื่อ View ที่ตั้งไว้
เทคนิค ขณะที่ทำการซูม สามารถทำในลักษณะที่สั่งให้เป็น Outline mode ก่อน แล้วสั่งทำ Customs view เมื่อเรียนขึ้นมาดูกก็จะแสดงเป็น Outline mode
การซ่อนสิ่งที่สร้างบน Hide Object on the Artboard
ให้อยู่ที่เครื่องมือ Selection Tool ทำการคลิก Object ที่ต้องการซ่อน แล้วใช้เมนู Object - Hide - Selection (Ctrl + 3) ที่เลเยอร์ดวงตาก็จะปิดลงด้วย ถ้าต้องการแสดงก็ใช้เมนู Object - Show All
การล็อค Object และ การล็อคเลเยอร์
ทำได้โดยการใช้เมนู Object - Lock หรือคีย์ลัด Ctrl + 2 จะเป็นการล็อคตัว Object แต่ถ้าต้องการล็อคเลเยอร์ ให้คลิกช่องที่สองของเลเยอร์นั้นโดยตรง การล็อคที่เลเยอร์ใดจะทำให้ Sub เลเยอร์ของเลเยอร์นั้นล็อคไปด้วย ถ้าต้องการปลดล็อคทำโดยใช้เมนูน Object - Unlock หรือ Alt + Ctrl + 2 หรือคลิกที่รูปกุญแจอีกครั้ง
การกำหนด Artboards Layout
ใช้สำหรับกำหนด Layout ให้กับการสร้าง Artboards หลายชิ้นในหนึ่งชิ้นงาน การสร้างนี้จะทำขณะที่สร้างงานใหม่ แล้วเลือกไอคอนต่างๆ ซึ่งมี 5 แบบด้วยกัน
เมื่อเลือกรูปแบบ Layout ได้แล้ว ให้กำหนดความกว้างระหว่า Artboards ได้จาก Spacing
คำศัพท์ควรรู้
Artboard = ชิ้นงานเปล่าตอนที่เปิดขึืนมา
Artwork = ส่วนต่างๆ ที่รวมกันอยู่บน Artboard เช่น Object, Path
Attribute = ได้แก่ ส่วนของ Fill, Stroke, Effect ต่างๆ
การ Edit Artboard
ทำได้โดยการใช้เมนู File - Document Setup - Edit Artboard
การใช้คำสั่งนี้จะให้ Artboard ที่มีอยู่ มีผลกับ Artborad Tool รวมทั้งถ้ามีการเพิ่มArtborad ใหม่ก็จะมีผลกับเครื่องมีอ Artborad Tool เช่นกัน สามารถปรับเลื่อนตำแหน่ง Artborad ได้ใน Artborad Panel
การปรับขนาด Artboards
ถ้าต้องการเปลี่ยนขนาด Artboards ให้คลิกเลือกเครื่องมือ Artboard Tool (Shift + O) แล้วทำการคลิก Artboard ที่ตอ้งการปรับเปลี่ยนขนาด จากนั้นลากปรับขนาดได้ตามต้องการ ถ้าต้องการขนาดที่แน่นอน ให้พิมพ์ตัวเลขที่แถบด้านบน ในส่วนของ W and H และยังสามารถคลิกเลือก Artboard เพื่อเลื่อนตำแหน่งได้อีกด้วย
Selection Tools ( V )
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเลือกทั้งหมด เช่น Object, Path ต่างๆ เป็นต้น
Direction Selection and Group Direction Tool ( A )
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกเฉพาะส่วน แต่ถ้าใช้ Group Direction Tool แล้วทำการคลิกครั้งแรก จะเป็นการเลือกเฉพาะส่วนที่คลิก ถ้าคลิกครั้งทีสองจะเลือกเพิ่มส่วนอื่น คลิกครั้งต่อไปเป็นการเลือกทั้งหมด
การใช้ Magic Wand Tool ( Y )
เครื่องมือนี้จะใช้สำหรับการทำ Selection แบบหนึ่ง ก่อนการใช้เครื่องมือควรทีจะกำหนดในส่วนของ Prpperties ก่อน โดยการดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนเครื่องมือเพื่อ Properties และกำหนดค่าต่างๆ เช่น Tolerance หรือจะกำหนดให้เลือกจาก Fill Color, Strok Color, Stroke Weight, Opacity และ Blending Mode ได้ด้วย การตั้งค่า Tolerance เพื่อ Selection ก็เหมือนทั่วไป ซึ่งจะมีผลกับสิ่งที่จะถูก Selection ถ้าไม่เห็นแถบ Stroke หรืออื่นๆ ให้คลิกเปิดออปชั่นโดยคลิกลูกศรบนแถบ Properties - Show stroke option หรือ Show transparency options จากนั้นวิธีใช้เครื่องมือ ให้คลิกที่ Object อันใหนก็ได้ ถ้ามี Object ที่เหมือนกันกับการตั้งค่าใน Properties แต่ละ Object ก็จะทำถูก Selection ให้ทั้งหมด
การใช้ Lasso Tool ( Q )
เมื่อคลิกเครื่องมือนี้แล้วใช้ลากล้อมรอบ Object เพื่อ Selection เครื่องมือนี้เหมาะกับ Artboard ที่มีรายละเอียดมาก แล้วต้องการ Selection เฉพาะแต่ละส่วนของ Object
การทำ Selection ด้วยคำสั่ง Same and Object
ให้เลือกเมนู Select - Same หรือ Object แล้วเลือกรูปแบบต่างๆ เพื่อทำการ Selection
การทำ Group and Ungroup Selection
ปรับเครื่องมือให้อยู่ใน Selection Tool แล้วให้ลากคลุม Object ทุกชิ้นทึ่ต้องการรวม แล้วใช้เมนู Object - Group หรือ คลิกขวาแล้วเลือก Group หรือใช้คีย์ลัด Ctrl + G ถ้าต้องการทีจะ Ungroup ก็ใช้วิธีการเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนเป็นเลือก Ungroup แทน หรือใช้คีย์ลัด Shift + Ctrl + G การ Ungroup จะเป็นการถอยกลับจากการ Group ทีละขั้นของการเลือกทำ Group เช่น ถ้าเลือก Object ที่ 1 และ 2 แล้วสั่ง Group จากนั้น เลือก Object ที่ 3 แล้วสั่ง Group เพิ่ม ตอนนี้ Object ทั้งหมดอยู่ใน Group เดียวกัน แต่เมือสั่ง Ungroup จะเป็นการ Ungroup ถอยกลัยแบบทีละขั้นที่มีลำดับการ Group
การทำ Isolate Mode
จะใช้กับ Object ที่มีการ Group หลายลำดับขั้น เพื่อต้องการเลือกเพียง Object นั้นมาเพื่อทำการปรับแต่ง
วิธีการทำ Isolate โดยการดับเบิ้ลคลิก Object ที่ต้องการปรับแต่ง แถบ Isolate Mode จะแสดงขึ้น พร้อมกับเกิดลำดับการ Ungroup ให้ดับเบิ้ลคลิกต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าลำดับการ Ungroup จะมาถึงในส่วนของ Object ที่ต้องการใช้ในการปรับแต่ง
ถ้าต้องการที่จะออกจาก Isolate Mode สามารถออกได้ที่ละลำดับ หรือ ออกทั้งหมดครั้งเดียวก็ได้ ถ้าต้องการออกทีละลำดับให้คลิกลูกศรที่แถบแสดง หรือถ้าต้องการออกจากโหมดนี้เลย ทำได้ด้วยการดับเบิ้ลคลิกพื้นที่นอกส่วนของ Group Object
การทำแบบนี้ไม่ได้เป็นการ Ungroup แต่เป็นการเข้าไปเลือก Object แต่ละส่วนของ Group Object โดยไม่ต้อง Ungroup
การปรับเปลี่ยนรูปร่าง Transform Object
ใช้ Selection Tool คลิกที่ Object นั้น จะทำให้สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยการลากปรับขนาดของ Bounding Box ที่คลุม Object โดยให้สังเกตุเม้าส์จะเปลี่ยนเป็นหัวลูกศรสองฝั่ง ถึงจะทำการลากเปลี่ยนขนาดได้ หรือทำ Rotating ได้ หรือจะคลิกไอคอนเครื่องหมายลูกศรโค้ง นั่นคือเครื่งอมือ Rotate Tool ( R ) มาทำการ Rotate โดยตรงก็ได้เช่นกัน ส่วนถ้าใช้เครื่องมือที่ติดกับ Rotate Tool นั่นคือ Scale Tool ( S ) เมื่อคลิกที่ Object จะไม่เห็น Bounding Box แต่สามารถคลิกและปรับขนาดได้เลย
การบิดเบือนรูปร่าง Distort Object ( Width and Wrap Tool ( W ) )
มีวิธีการบิดเบือนรูปร่างอยู่หลายแบบด้วยกันที่รวมอยู่ในเครื่องมือกลุ่มนี้ เช่น Width Tool, Wrap Tool, Twirl Tool, และอื่นๆ ซึ่งอยุ่ในเครื่องมือการทำ Distort Object ก่อนการใช้เครื่องมือเหล่านี้ จะต้องคลิกที่ Object นั้นโดยใช้ Selection Tool ก่อน จากนั้นส่วนมากจะทำโดยการคลิกค้าง หรือ ลากผ่าน Object เพื่อให้เกิดการ Distort ก่อนทำควรเปิด Properties ของเครื่องมือเพื่อกำหนดค่าตามต้องการ เช่นการปรับขนาดแปรง อัตราการกระทำ และอื่นๆ
การทำ Repeating Transforming
ถ้าต้องการใช้คำสั่งเพื่อให้เกิดผลเหมือนกับการกระทำคำสั่งก่อนหน้า หลังจากที่ได้ทำคำสั่งนั้นแล้ว เช่น การ Copy สามารถใช้ คำสั่ง Ctrl + D เพื่อให้เกิดการ Copy ซ้ำได้
การทำ Reflection and Skewing Object
ใช้ Selection Tool คลิกที่ Object นั้นแล้วใช้เครื่องมือ Reflect ซึ่งอยู่รวมกับ Rotate Tool จากนั้นให้กดปุ่ม Alt ก่อนที่จะคลิก เมื่อคลิกแล้วจะมีหน้าต่าง Reflect แสดงขึ้นมาเพื่อทำการตั้งค่า โดยสามารถเลือกการ Reflect แบบ Vertical หรือ Horizental ได้ รวมทั้งสามารถกำหนดองศาได้ด้วย ถ้าต้องการเห็นการเกิดส่วนที่ Reflect ให้คลิกเลือกที่ Preview ถ้าต้องการทำ Reflect Object แบบสร้างเพิ่มให้กดที่แถบ Copy จากนั้นกด OK
ส่วนการ Skew ทำได้จาก Tranform Panel ในส่วนของ Shear หรือจะทำจากเครืองมือ Shear Tool ซึ่งอยู่รวมกับ Scale Tool ทำการคลิกแล้วลากให้เกิดการ Shear
การทำ Align and Distribution bjects
ให้ใช้เมนู Window - Align เพื่อเป็นการเปิด Align Panle ส่วนการทำนั้นต้องเลือก Object ที่จะทำการ Align ก่อน แล้วเลือกรูปแบบการ Align ซึ่งจะเกิดการ Align กับ Artboard หรือจะใช้เครื่องมือบนแถบเมนูของ Selection tool ก็ได้เช่นกัน
การสร้าง Swatch Color and Global Swatch Color
มีวิธีการทำได้สองแบบ โดยการคลิกที่ Object แล้วมาคลิกไอคอน New Swatch บน Swatch Panel จะได้หน้าต่าง New Swatch ขึ้นมา จากนั้นทำการตั้งชื่อ หรือ คลิกสีบนแถบเครื่องมือแล้วลากไปที่ Swatch Panel ก็จะได้สีนั้นเก็บไว้ที่ Swatch Panel ถ้าดับเบิ้ลคลิกที่สีนั้น ก็จะมีหน้าต่าง Swatch Option จากนั้นให้ตั้งชื่อ Color ถ้าต้องการสร้างสีนี้ให้เป็นแบบ Gobal ก็ให้คลิกเลือกที่ช่อง Global การเลือกเป็นแบบ Global จะทำให้กรอบสีนั้นมีสัญญลักษณ์สามเหลี่ยมที่มุมล่างขวาให้เห็นด้วย เพราะเมื่อเปลี่ยนสีที่ใช้ร่วมกันใน Object ที่เป็น Global Color ก็จะมีการอัพเดทเปลี่ยนสีให้หมดทุก Object ที่ได้ใช้ Global Swath Color นี้
การลบสีจาก Swatch Panel ก็เพียงแต่คลิกที่สีนั้น แล้วมาคลิกที่รูปถัง จะมีหน้าต่างยืนยันการลบสีนั้น ให้กดเลือก Yes
การสร้าง Color Group
ให้ทำการเลือกสีบน Swatch Panel แล้วคลิกที่ไอคอน New Color Group จากนั้นทำการตั้งชื่อ
การกำหนด Swatch Option
ทำได้โดยคลิกสีบน Swatch Panel แล้วมาคลิกที่ไอคอน Swatch Options จากนั้นทำการปรับตั้งค่าสีต่าง
การสร้าง Spot Color
เหมือนการสร้าง Swath Color แต่เลือกเป็น Spot Color ในแถบของ Color Type (ประกอบด้วย Process Color and Spot Color) จะมีสัญญลักษณ์ที่ตำแหน่งเดียวกับการสร้าง Global Color
การใช้ Swatch Libraries Menu
ไอคอนของ Libraries จะอยู่ที่มุมซ้ายล่างของ Swath Panel ถ้าต้อการ Importing Swatch ให้คลิกเลือกที่ Other Library แล้วเลือกไฟล์สีที่บันทึกเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ จะได้หน้าต่างสีขึ้นมาที่โปรแกรมอีกหนึ่งอัน ให้ดับเบิ้ลที่โฟลเดอร์สีที่ต้องการก็จะไปสร้างไว้ที่ Ai Swath Color แต่ถ้ามีการเปิดชิ้นงานใหม่จะต้องทำการ Import ใหม่ โดยใช้เมนู Window - Swatch Libraries - Other Libraries เช่นเดิม ถ้าต้องการส่งโฟลเดอร์สีมาเก็บไว้ใช้ที่โปรแกรม ให้ทำการคลิกลูกศรบนแถบ Swath - Save Swatch Library as ASE or as AI
การใช้ Color Guide Panel
ให้ทำการเลือก Base Color จากส่วนของแถบสีก่อน จากนั้นคลิกลูกศรบนแถบของ Color Guide Panel เพื่อเลือก Color Guide Option เลือก Step และ เปอร์เซ็นต์ Variation แล้วคลิกเลือกสีเพื่อ Apply กับ Object
การใช้ Fill and Stroke
Fill คือ สีทีแสดงอยู่ภายในเส้น Path ส่วน Stroke คือ สี่ที่อยู่ส่วนขอบของ Object
สามารถทำการ Revert สีระหว่าง Fill and Stroke ได้โดยการกดสัญญลักษณ์ Revert ที่อยู่แถเครือบมือ
และยังสามารถ Apply Brush Type กับเส้น Stroke โดยเปิด Brush Panel แล้วเลือกรูปแบบ Brush ก็จะได้ทันที
การสร้าง Dashes and Arrows Head to Stroke
การทำนั้นจะกำหนดที่ส่วนของ Stroke Panel ให้คลิกในส่วนของ Dashed แล้วกำหนดตัวเลขในส่วนของ Dash กับ Gap
รวมทั้งยังสามารถกำหนด Arrow Head ให้กับเส้น Dashed ได้ด้วย ในส่วนของ Arrow Head ส่วนของหัวและหาง Arrow จะไม่รวมอยู่ใน Path จนกว่าจะใช้คำสั่ง Object - Expand Appearance
ถ้ามีการปรับขนาดของ Path จะทำให้ Stroke และ Fill ปรับตามขนาดตามสัดส่วนโดยอัตโนมัติ
การปรับขนาดเส้น Stroke ด้วยเครื่องมือ Width Tool
หลังจากเลือกเครื่องมือแล้ว ให้ทำโดยคลิกที่เส้น Stroke จะเห็น ขนาด และ ความหนาของเส้นขณะที่คลิก เมื่อคลิกเส้น Stroke ตรงใหนแล้วลากออก จะทำให้มีการปรับขนาด Stroke ในส่วนนั้นใหญ่ขึ้น และยังสามารถคลิกที่จุดตรงกลางของเส้นเครื่องมือ Width Tool แล้วลากเปลี่ยนที่ได้อีกด้วย ถ้าลากที่แขนของเครื่องมือ ซึ่งมีอยู่สองด้าน สามารถลากเข้าออกเพื่อปรับขนาดได้ ถ้าต้องการปรับเฉพาะจุดข้างเดียว ให้กดปุ่ม Alt ก่อนทำการลากปรับขนาดด้านนั้น การทำแบบนี้สามารถสร้าง Stroke Profile เพื่อใช้กับในส่วนอื่นที่เหมือนกันได้
การสร้าง Stroke Profile สำหรับการใช้เครื่องมือ Width
หลังจากใช้เครื่องมือเพื่อปรับแต่งเส้น Stroke ตามต้องการแล้ว (ต้องคงอยู่ในเครื่องมือ Width Tool) ให้คลิกที่ไอคอน Stroke บนแถบควบคุมเครื่องมือ หรือจะเปิด Stroke Panel แล้วคลิกลูกศรที่แถบ Profile จากนั้นคลิกที่ไอคอน Add to Profile ทำการตั้งขื่อ แล้วกดปุ่ม OK ก็จะได้ Stroke Profile ซึ่งเป็นรูปแบบ Stroke ไว้ใช้กับ Object อื่น
การใช้ Stroke Preset จากแถบควบคุมเครื่องมือ
คลิก Object ที่ต้องการ เลือก Variable Width Profile ที่แถบควบคมุเมนู (ช่องที่อยู่ถัดจากขนาดเส้น Stroke) เลือกรูปแบบ Width Preset ที่จะใช้ ถ้ายังไม่เห็นต้องปรับขนาดความหนาของ Stroke ก่อน (Width Preset Uniform คือ Default ของเส้น Stroke)
การเปลี่ยน Stroke ให้เป็น Object
โดยการใช้เมนู Object - Path - Outline Stroke จากนั้นสามารถทำอะไรก็ได้เหมือนทำกับ Object เช่นการเปลี่ยนสีของ Fill ก็จะเปลี่ยนกับ Stroke ด้วย
การสร้าง Gradient Color
แบ่งได้เป็น การ Apply Gradinet to Fill and to Stroke วิธีการทำนั้นโดยคลิกที่ไอคอน Gradient บนแถบเครื่องมือเพื่อ Apply กับส่วนของ Fill ใน Object แล้วมาปรับที่ Gradient Panel เลือก Gradient Type ซึ่งมีแบบ Linear and Radial สามารถเลือก Preset ได้โดยคลิกที่ลูกศรด้านซ้ายของ Type หรือจะสร้าง Gradient Color ขึ้นเองก็ได้ สามารถปรับมุม ขนาด สี ตำแหน่ง เพิ่ม ลด จุดสี ลักษณะการทำเหมือนการสร้างจากโปรแกรม Photoshop และยังสามารถคลิกที่ Object แล้วไปวางไว้ที่ Swatch Color เพื่อเพิ่มรูปแบบ Gradient ได้เลยแล้วดับเบิ้ลคลิกเพื่อตั้งชื่อ ถ้าต้องการใช้ Preset คลิกที่ Swatch Labraies Menu - Gradient เลือกรูปแบบ
ส่วนการ Apply Gradinet to Stroke ทำลักษณะเดียวกันกับการใส่ให้กับ Fill เพียงแต่มาปรับที่ Gradient Panel เลือกรูปแบบให้เป็น Stroke เท่านั้น
การใช้ และ การแก้ไข Applying and Editing Pattern Fill
เลือก Pattern จาก Swatches Panel โดยคลิกที่ไอคอน Show Swatch Kinds Menu แล้วเลือก Show Pattern Swatch หรือเลือกจาก Swatch Libraries
การเปลี่ยนสีให้กับ Pattern
ถ้าต้องการเปลี่ยนสี Pattern ทำโดยดับเบิ้ลคลิกกรอบ Pattern ในส่วนของ Swatch ที่ใส่ให้กับ Object จะทำให้หน้าต่าง Pattern Option เปิดขึ้นมาพร้อมแถบ Isolate Mode และจะเห็นกรอบสี่เหลี่ยมบนแสดงขึ้นบนตัว Object จากนั้นเปลี่ยนเป็น Selection Tool มาคลิกภายในกรอบสี่เหลี่ยม หรือ มาคลุมเพื่อเลือกกรอบสี่เหลี่ยม จากนั้นให้เลือกสี แล้วคลิก Done ที่แถบด้านบน หรือ คลิก Save a Copy เพื่อเก็บไว้ใน Swatches และยังสามารถเปลี่ยนรูปแบบ Tile Type และอื่นๆ ได้ ในส่วนของ Properties ได้ด้วย
การสร้าง Pattern Fill
เมื่อมี Object ที่ต้องการสร้งเป็น Pattern ให้คลิกเลือก Object แล้วใช้เมนู Object - Pattern - Make จะได้ Pattern โดยมีกรอบสีน้ำเงินล้อมรอบ Object นั้น และหน้าต่าง Pattern Option จะเปิดขึ้นมาเพื่อให้ทำการตั้งชื่อในช่อง Name สามารถเลือกรูปแบบในส่วนของ Tile Type และทำการปรับขนาดในส่วนของ Brick Offset และอื่นๆ (ลองปรับ) จากนั้นปิดหน้าต่าง Pattern Option ก็จะทำให้ Pattern นั้นถูกเก็บไปไว้ใน Swatches
การสร้าง Closed and Open Path
Close Path คือ การสร้าง Path ด้วยเครื่องมือในกลุ่มของ Rectangle Tool ขณะลากรูปร่าง สามารถใช้ปุ่มลูกศรปรับขนาดและสัดส่วนต่างๆ ได้ ส่วน Open Path คือ Path ที่ไม่มีการบรรจบของเส้น Path เช่น Line, Arc and Spiral Tool
การสร้าง Join and Average Path
การรวมเส้น Path เข้าด้วยกันนั้นก็คือการทำ Join and Average Path ซึ่งทั้งสองแบบจะมีลักษณะคล้ายกัน เริ่มต้นต้องใช้เครื่องมือ Direct Selection Toll ( A ) ทำการเลือก Anchor ของ Path ที่จะทำก่อน จากนั้นใช้เมนู Object - Path - Join or Average ถ้าทำ Join Path แล้วมีส่วนที่ไม่แนบกัน หรือเกิดเหลียมที่ Anchor Point ใหน ให้ทำการเลือกที่ Anchor Point นั้นแล้วใช้ Average
การใช้ Eraser, Scissor and Knife Tool เพื่อลบและตัวเส้น Path
- Eraser Tool เครื่องมือสำหรับใช้ลบเส้น Path วิธีใช้ก็ง่ายมาก เพียงคลิกลากทับเส้น Path ที่ต้องการลบ
- Scissor Tool เครื่องมือที่ใช้ในการตัดเส้น Path ก่อนการตัดให้เลือก Object ที่ต้องการตัดเส้น Path จากนั้นให้คลิกที่ Object โดยจะต้องคลิกให้เกิดจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของการตัดบน Object นั้น และจะต้องคลิกเฉพาะในส่วนที่เป็น Anchor Point เท่านั้น ไม่นั้นรูปร่างของ Object จะเปลี่ยนไป เมื่อคลิกได้สองจุดแล้ว Object นั้นจะถูกตัดแบ่งออกเป็นสองส่วน การตัดโดยใช้เครื่องมือ Scissor จะเป็นการตัดแบบเส้นตรง
- Knife Tool ก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดเส้น Path เช่นกัน แต่เป็นการตัดที่มีรูปร่างอิสระในการตัดโดยการลากตัดเส้น Path บน Object ตามรูปร่างที่ต้องการ และไม่จำเป็นต้องตัดเฉพาะจุดที่เป็น Anchor Point สามารถลากผ่านเส้น Path ที่ส่วนใหนก็ได้ แต่หลังจากลากเส้นตัดแล้ว ให้เปลี่ยนเป็นเครืองมือ Selection Tool และคลิกส่วนที่ทำการตัดเพื่อให้เกิดการเลือกที่ส่วนนี้ก่อนที่จะทำการลากเพื่อแยกส่วนออกมาจาก Object
เทคนิค ถ้าอยู่ใน Knife Tool แล้วต้องการตัดให้ตรง ให้กดปุ่ม Alt ก่อนทำการลากตัด
การ Copy and Paste Path
คลิกเลือก Path นั้น แล้วกดปุ่ม Ctrl + C จากนั้นกดปุ่ม Ctrl + V
การใช้เครื่องมือการวาด Drawing Mode
เครื่องมือนี้ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งของการสร้าง Object ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ
- Draw Normal จะเป็น Default ค่าเริ่มต้นของการวาด และจะเป็น Object แรกที่สร้างขึ้น
- Draw Behind หลังจากมีการวาด Object แรกแล้ว สามารถกำหนดได้ว่า Object ที่กำลังจะสร้างต่อไปนี้ให้แสดงอยู่ในส่วนใดของ Object แรก ถ้าต้องการให้แสดงบางส่วนอยู่ด้านหลัง หรือที่เรียกว่า Over Wrap กับ Object แรก ก็ให้คลิกเลือก Draw Mode ลำดับที่สอง
- Draw Inside ก่อนที่จะทำการวาดในโหมดนี้ จะต้องคลิกเลือก Object ที่เราจะให้ Object ที่จะสร้างขึ้นอยู่ภายใน Object นั้นก่อน จากนั้นก็เลือกเครืองมือนี้ จะมีกรอบแสดงขึ้นมาล้อมรอบที่ Object ที่ได้เลือกไว้ และทำการวาดภายใน Object ที่ได้คลิกเลือก การทำเช่นนี้จะเหมือนกับการ Group Object ดังนั้นถ้าต้องการแก้สี หรือแก้ไขแต่ละส่วน จะต้องทำดับเบิ้ลคลิกที่ Object เพื่อสร้าง Isolate Mode แล้วคลิกเลือกแต่ละ Object ที่ต้องการแก้สี หรือจะใช้วิธีกดปุ่ม Ctrl แล้วคลิก Object ส่วนที่ต้องการการสีก็ได้
การใช้ Path Finder Panel กับ Compound Path
ใช้เมนู Window - Pathfinder หรือคีย์ลัด Sshift + Ctrl + F9 สำหรับ Panel นี้จะประกอบด้วยสองส่วนสำคัญคือ ส่วนของ Shape Modes ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 รายการ ได้่แก่ Unite, Minus, Intersect, Exclude และส่วนของ Pathfinders ซึ่งมีอยู่ 6 รายการ ก่อนที่จะทำแต่ละคำสั่ง จะต้องทำการเลือก Object แต่ละชิ้นเพื่อให้ Group Object ก่อนที่จะใช้คำสั่งเหล่านี้
Shape Modes :
Unite = คือ การรวม Object สอง Object เข้าเป็น Object เดียวกัน เมื่อใช้คำสั่งนี้จะทำให้ Object ที่อยู่ด้านล่างรวมเข้ากับ Object ที่อยู่ด้านบน
Minus = คือ การตัด Object โดย Object ที่อยู่ด้านบนจะถูกตัดออก และจะทำให้ Object ที่อยู่ด้านล่างถูกตัดออกเฉพาะส่วนที่ Object บนคาบเกี่ยวกับ Object ด้านล่าง
Intersect = Object ทั้งด้านบน และด้านล่างจะถูกตัดออก เหลือเฉพาะส่วนที่คาบเกี่ยวกันระหว่างสอง Object และ Object ด้านล่างจะรวมกับ Object ด้านบน
Exclude = ส่วนที่คาบเกี่ยวกันระหว่างสอง Object จะถูกตัดออก และ Object ด้านล่างจะรวมกับ Object ด้านบนสำหรับส่วนที่เหลือ
ในส่วนนี้จะประกอบด้วย 6 รายการ ได้แก่ Divide, Trim, Merge, Crop, Outline, Minus back
- Divide = คือ การตัดแยกส่วนของ Path ทั้งสองที่คาบเกี่ยวกัน แต่ละส่วนจะถูกแยกออก เมื่อ เปลี่ยนเป็นเครื่องมือ Direct Selection Tool แล้วคลิกแต่ละส่วนของ Path จะสามารถแยก Path ออกจากกันได้ตามภาพ ส่วนของ Path ที่อยู่ด้านล่างที่คาบเกี่ยวกัน จะรวมกับ Path ด้านบน
- Trim = คือการตัด Group Path ระหว่างสอง Object Path ที่ Overlap กัน แต่จะตัด Path ที่อยู่ด้านล่าง ส่วนที่อยู่ด้านล่างจะรวมกับ Object Path ด้านบน
- Merge = เป็นการรวม Group Path ระหว่างสอง Path ที่ Overlap กัน จะเหมือนกับ Unite ในส่วนของ Shape Mode
- Crop = เป็นการตัด Group path ระหว่างสอง Path ที่ Overlap กัน แต่จะตัดส่วนเกินของ Path ที่อยู่ด้านล่างออก จะเหมือนกับ Intersect ในส่วนของ Shape Mode
- Outline = คือคำสั่งที่ใช้สำหรับเปลี่ยน Path เป็น Outline Mode เท่านั้น
- Minus Back = เป็นการตัด Group Path ระหว่างสอง Path ที่ Overlap กัน แต่จะตัดส่วนล่่าง Path ทั้งหมด และส่วนที่ Overlap กับส่วนบนด้วย จะเหมือนกับ Minus ในส่วนของ Shape Mode แต่จะสลับส่วนที่ถูกตัดเท่านั้น
การใช้เครื่องมือ Shape Builder Tool
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ Merge and Subtract Object แต่ก่อนที่จะใช้เครื่องมือนี้ จะต้องทำการเลือก Object ที่ต้องการทั้งหมดก่อน ส่วนการทำโดยให้ลากผ่าน Path ที่ต้องการ Merge หรือ Subtract (ถ้ากดปุ่ม Alt แล้วลากจะเกิดการ Subtract แทน) จะใช้คลิกหรือ ลากผ่านก็ได้ ส่วนที่ถูกเลือกจะทำการ Merge แต่ส่วนที่ไม่ถูกเลือกจะเป็น Subtract
การใช้ Blob Brush
การสร้างเส้น Path ด้วยการทา และเมื่อทารวมกันจะทำให้เกิดการรวม Path สามารถปรับขนาดห้วแปรงได้ด้วยการใช้ Bracket [ or ]
การใช้ Paint Brush and Pencil Tool
- วิธีใช้ก็เพียงเลือกเครื่องมือแต่ละแบบ แล้วทำการทาลงบน Artboard เท่านั้น การทามี 2 วิธี คือ ทาแบบ Open Path คือ การทาไปปกติโดยที่ไม่มีการบรรจบกันระหว่างหัว และท้ายของการทา
- Close Path ทำโดยให้คลิกที่ Artboard ก่อน จากนั้นกดปุ่ม Alt จะเห็นสัญญลักษณ์วงกลม แล้วจึงทำการทา เมื่อปล่อยเม้าส์ เส้น path จะวิ่งไปบรรจบกัน
- การทาแบบ Open ให้เป็น Close Path ทำได้โดยการทาปกติ แต่เมื่อต้องการจบ ให้กดปุ่ม Alt ก่อนที่จะปล่อยเม้าส์
เทคนิค ทั้งสามแบบนี้ใช้ได้ทั้ง Paint and Pencil Tools
การตั้งค่า Paint Brush Tool
ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนเครื่องมือ จะเป็นการเปิด Paintbrush Tool Option เพื่อทำการตั้งค่าได้
Fidelity = กำหนดความห่างเท่าไรที่จะใส่ Anchor Point บนเส้น Path
Smoothness = เปอร์เซ็นต็การทำให้เส้นเรียบโค้งสวยงาม ไม่ขรุขระ ถ้าใช้เม้าส์ควรตั้งประมาณ 1% แต่ถ้าเป็น Tablet ไม่ต้องกำหนดค่า
การใช้ Smooth and Path Eraser Tool (อยู่ในกลุ่มของ Pencil Tool)
- Smooth Tool ใช้สำหรับวาดซ้ำเส้น Path เพื่อแก้ไขเส้น Path ที่สร้างจาก Pencil tool ให้มีส่วนโค้งมน ไม่ขรุขระ ก่อนวาดต้องทำการเลือก Path นั้นก่อนด้วย Selection Tool
- Eraser Tool ลักษณะการทำเหมือน Smooth Toll แต่เป็นการลบเส้น Path ก่อนลบ จะต้องทำการ Selection Path ที่จะลบก่อน
การใช้เครื่องมือ Pen Tool
เครื่องมือนี้ใช้สำหรับการสร้างเส้น Path ลักษณะการทำของเครื่องมือนี้จะเป็นการสร้างจุดเพื่อเชื่อมโยงให้เกิดเส้น ซึ่งเรียกว่าเส้น Path เมื่อเลือกเครื่องมือ Pen Tool เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปปากกาให้ทำการคลิกเพื่อสร้างจุดเริ่มต้น และจุดต่อไปตามแนวที่ต้องการสร้างเส้น Path เมื่อสร้างจุดมาจนครบรอบกับจุดแรกที่สร้าง เครื่องหมายวงกลมจะแสดงขึ้นมาให้เห็นข้างเม้าส์รูปปากกา ให้คลิกที่จุดแรกอีกครั้ง จะเป็นการ Close Path ที่สมบูรณ์
เครื่องมือที่ใช้ในการปรับแต่งจุดของเส้น Path มีด้วยกัน 2 แบบ คือ Convert Anchor Point Tool และ Direct Selection Tool
การปรับแต่งเส้น Path เพื่อปรับความโค้ง ทำได้ 2 วิธี
- หนึ่ง ปรับแต่งขณะสร้างเส้น Path โดยใช้เครื่องมือ Pen Tool เมื่อคลิกสร้างจุด ให้คลิกค้างไว้แล้วลากออกห่างจากจุด จะเกิดก้านสำหรับใช้ปรับแต่งความโค้งขึ้นมาทั้งสองด้านของจุด ขณะที่เม้าส์ยังคงคลิกค้างไว้ ให้เลื่อนขึ้น ลง หรือ ลากเข้า ออกได้ ขณะลากถ้ากดปุ่ม Shift จะทำให้เส้นที่ลากนั้นเป็นเส้นตรง ถ้าต้องการปรับมุมของก้านโดยไม่กระทบกับแนวของเส้น Path ให้กดปุ่ม Alt เพื่อปรับลากก้านที่ใช้สำหรับปรับเส้น Path
- สอง ปรับแต่งหลังจากสร้างเส้น Path แล้ว โดยการใช้เครื่องมือ Direct Selection Tool คลิกบนเส้น Path จะเกิดก้านปรับเส้น Path ที่ตำแหน่งของแต่ละจุด Anchor Point ซึ่งจะแสดงก้านให้เห็นทั้งสองด้าน นำเม้าส์คลิกที่ปลายของก้านในฝั่งที่ต้องการปรับ ลักษณะการปรับแต่งทำเช่นเดียวกันกับ Pen Tool หรือ Convert Anchor Point Tool ใช้คลิกปรับหลังจากได้มีการ Selection Path แล้ว
การเพิ่ม หรือ ลบ จุดบนเส้น Path โดยการใช้ Add Anchor Point Tool คลิกที่เส้น Path จะเป็นการเพิ่มจุด Anchor Point หรือ ลบจุด Anchor Point บนเส้น Path ก็ใช้ Delete Anchor Point Tool คลิกที่จุดบนเส้น Path นั้น
การสร้างตัวหนังสือ
ตัวหนังสือของโปรแกรม Illustrator จะเป็นตัวหนังสือที่สร้างบนเส้น Path ประกอบด้วย Point and Area text และวิธีการใช้งานเหมือนกับโปรแกรม Test in Photoshop การปรับขนาด และ Rotate เมื่อพิมพ์ตัวหนังสือแล้วสามารถปรับขนาดโดยการการใช้ Selection Tool คลิก ที่ Bounding box ลากปรับขนาดได้เลยการสร้าง Link Area Text
เริ่มแรกให้สร้าง Area text ขึ้นมาหนึ่งอันก่อน จากนั้นเมื่อพิพม์ข้อความใน Area แรกเต็มแล้วจะเห็นเครืองหมาย + ที่กรอบด้านล่างขวา ให้เปลี่ยนเป็น Selection Tool ก่อน แล้วคลิกที่ Area Text แรก แล้วมาคลิกที่เครื่องหมาย + จะเห็นเครื่องหมาย Area Text ทีเม้าส์ ก็ให้ทำการลากแถบ Area Text เพิ่มใหม่ได้เลย
กรณีที่มีการสร้างกรอบ Area Text ไว้ก่อนแล้ว การ Link ให้คลิกเครื่องหมาย + ของ Area Text แรกแล้วนำไปคลิกกับกรอบ Area Text ที่สร้างไว้สำหรับการ Link ได้เลย
การยกเลิกการ Link Area Text
ให้คลิกที่เครื่องหมายมุมบนซ้ายของ Area Text ที่ต้องการยกเลิกการ Link จะเห็นเครื่องหมาย Unlink จากนั้นให้มาคลิกที่เครื่องหมายการ Link ที่ด้านล่างขวาของ Area Text ที่เป็นตัวที่ Link ไว้
การสร้าง Type on Path
ให้เปลี่ยนเป็นเครื่องมือนี้ หรือขณะอยู่ที่เครื่องมือ Type ธรรมดา ให้กดปุ่ม Alt ก็ได้ หลังจากพิมพ์เสร็จแล้วให้เปลี่ยนเป็น Selection Tool ก็จะเห็นสัญญลักษณ์ Control Handle ที่ใช้ในการปรับแต่ง การปรับแต่งหรือลากตัวหนังสือ ให้คลิกที่ก้านของ Handle
ก้านของ Handle ใช้สำหรับลากเลื่อนตัวหนังสือ และก้านสำหรับเลือนเข้าออกด้านในและนอก Path ให้นำเม้าส์ไป Hover ที่ก้านแต่ละก้าน จะมีเครื่องหมายบอกไว้
เมื่อเลื่อนตัวหนังสือ แล้วทำให้บางส่วนไม่เห็น แสดงว่าต้องมีการลากเส้นปลายย้อนกลับมาถึงจะเห็น
การเปลี่ยนตัวหนังสือให้เป็นเส้น Path (Text to Path)
ก่อนอื่นต้องใช้ Selection Tool คลิกที่ Text เพื่อให้เกิด Bounding Box จากนั้นคลิกขวาแล้วเลือก Create Outline และใช้ Direction Tool คลิกที่ Anchor Point ที่ต้องการปรับแต่ง
คีย์ลัดสำหรับใช้กับตัวหนังสือ Text shortcut key |
เป็นส่วนสำหรับการแสดงรายละเอียดต่างๆ ขณะที่มีการกระทำอะไรก็ตามเกิดขึ้นกับ Artboard เช่น เมื่อมีการคลิกเพื่อ Selection หรือ มีการสร้าง Stroke, Fill, Effect, Attribute (เช่น opacity) และยังสามารถที่จะทำการแก้ไขปรับแต่งสิ่งต่างๆ กับ Object ได้จาก Panel นี้ เช่นถ้าคลิกที่แถบ Stroke ก็จะมีช่องรายการแสดงขึนมาเพื่อให้ใส่ขนาด เป็นต้น
ถ้าคลิกที่ชื่อต่างๆ ที่มีการขีดเส้นประบน Appearance Panel จะเป็นการเปิดหน้าต่าง Properties ของส่วนนั้นๆ ถ้าคลิกที่แถบลูกศรของแต่ละตัวซึ่งเรียกว่า Stack จะมีแถบย่อยเปิดออกมา ส่วนแถบ Attribute Stack ซึ่งเป็นแถบด้านบนสุดจะใช้สำหรับแสดงสถานะการ Selection เช่นถ้าแสดงว่า No Selection หมายถึงยังไม่มีการทำ Select อะไรบน Artboard ถ้ามีการ select จะเปลี่ยนอัพเดทไปทุกครั้งที่มีการ Select เช่น Select ที่ Path ก็จะแสดงชื่อ Path เมื่อคลิกที่ลูกศรบนแถบจะเห็นเมนุต่างๆ เพิ่มขึ้น สามารถคลิก Attribute Stack ลากเปลี่ยนตำแหน่งระหว่างกันได้ แต่จะทำให้เกิดผลกับการแสดงผลที่ Object ด้วย
การสร้าง New Fill ใน Appearnce Panel
เมื่อต้องการสร้าง Fill Attribute ใหม่ สามารถทำได้โดยการคลิกที่ไอคอน Add New Fill จะมี Fill Stack เพิ่มขึ้นมาด้านบนสุดของ Panel สีของ Fill จะใช้สีปัจจุบันที่มีการเลือกค้างไว้ ถ้าต้องการเปลี่ยนให้เลือก Fill ใหม่ที่ต้องการ เช่น อาจใส่เป็น Pattern ซ้อนทับ Color Fill ที่อยู่ใน Stack ด้านล่าง จะทำให้สวยงามขึ้น เมื่อต้องการปรับ Opacity หรือ Blend Mode ของ Fill Pattern ก็สามารปรับได้โดยการคลิกเปิดลูกศรที่ Stack ของ Fill แล้วคลิกที่ Opacity เพื่อเปิดหน้าต่าง Properties รวมทั้งสามารถใส่ Mask ได้ที่นี่อีกด้วย
การสร้าง Multiple Strokes
โดยการคลิกไอคอน Add Stroke บน Appearance Panel แล้วปรับค่าต่างได้ Stroke ที่อยู่ด้านบนต้องมีขนาดที่เล็กกว่าด้านล่าง จึงจะทำให้เห็นเส้น Multiple Stroke ได้
การปรับแต่ง Appearance Panel ด้วย Live Effects
Effect จะมีสองส่วน ได้แก่ ส่วนของ Illustrator และ Photoshop ส่วนที่เป็นของ Illustrator จะเรียกว่า Live Effect เมื่อคลิกไอคอน fx จะเห็นรายการต่างๆ ของทั้งสองส่วนแสดงขึ้นมา เมื่อคลิกเลือกที่ Effect ใดก็จะมีหน้าต่าง Effect Option นั้นแสดงขึ้นมา
การบันทึก Effect ที่สร้าง และเก็บไว้เพื่อใช้
เมื่อสร้าง Effect เสร็จแล้ว ให้คลิกที่ Object มีวิธีเก็บ Effect ไว้ที่ Graphic Style Panel ได้สองวิธี โดยคลิกที่ Object แล้วลากเข้าไปที่ Graphic Styles Panel หรือใช้กดไอคอน New Graphic Style ที่ Graphic Style Panel ก็ได้ ทำการดับเบิ้ลคลิก Effect ที่เพิ่งใส่เข้าจะมีหน้าต่าง Graphic Style Option แสดงขึ้นมาเพื่อให้ตั้งชือ เมื่อต้องการนำไปใช้กับ Object อื่น ก็แค่คลิกที่ Object แล้วมาคลิกที่ Graphic Style ที่ต้องการ
การบันทึก Graphic Style
เมื่อสร้าง Graphic Style ขึ้นมาได้หลายแบบแล้ว ควรที่จะเก็บไว้ใช้โดยการคลิกที่ลูกศรบนแถบ Graphic Panel เลือก Save Graphic Libraries แล้วเลือกที่เก็บไฟล์บนคอมพิวเตอร์ แถมยังส่งสามารถใช้ไฟล์นี่ส่งให้ใครใช้ก็ได้ เมื่อต้องการใช้ให้เลือก Open graphic Style Libraries - Other Libraries เลือก Style ของเราที่เก็บไว้ (Other หมายถึงเราเก็บไว้ใน Hard disk บนคอมฯ ของเราเองไม่ใช่เก็บไว้ในส่วนของโปรแกรม Illustrator ถ้าเป็นส่วนของโปรแกรมเมื่อเปิดขึ้นมาจะเห็นชื่อเพื่อให้เลือกได้เลย)
การใส่ Graphic Styles กับ Object
เปิด Graphic Panel ขึ้นมา จากนั้นให้คลิก Object ที่ต้องการใส่ Graphic แล้วไปคลิกที่ Graphic นั้น การเติม Graphic จะเป็นการ Fill Object เพราะฉะนั้นจะเห็น Fill Stack เพิ่มขึ้นในส่วนของ Appearance Panel
Layer panel
มีหลายส่วนคล้ายกับ Layer ของ โปรแกรม Photoshop เช่นคลิก Create New Layer เพื่อสร้าง Layer ใหม่ หรือ คลิกที่ชือ Layer เพื่อแก้ไขชื่อ แต่มีจุดที่ไม่เหมือนคือ ในส่วนของ Click to Target คือปุ่มที่อยู่ด้านท้ายของแต่ละ Layer เมื่อคลิกแล้วจะรู้ว่า Object ใดอยู่ตรงใหนเพราะจะมี Bounding Box แสดงขึ้นมาที่ Object นั้น
การปรับขนาด Layer Thumbnail
ทำโดยคลิกที่ลูกศรบนแถบ Layer Panel เลือก Panel Option ปรับแต่งในส่วนของ Row Size และอื่นๆ ตามต้องการ
การย้ายตำแหน่ง Layer ให้คลิกบนพื้นที่่ว่างของ Layer ค้างแล้วลากไปไว้ที่ตำแหน่งต้องการ
การเปลี่ยน Layer เมื่อมีการสร้าง Layer เปล่า ขึ้่นมา แล้วต้องการย้าย Layer ที่มีอยู่เดิมมาไว้เพื่อแยกเป็นรายการเฉพาะ ทำได้โดยการคลิกค้างตำแแหน่งว่างถัดจากปุ่ม Click to Target จะมีกรอบสี สี่เหลื่ยมเล็กแสดงให้เห็น จากนั้นคลิกที่กรอบสีนี้ แล้วลากมาไว้ที่ Layer ที่สร้างขึ้น ถ้าเลเยอร์นั้นมีการใส่สีไว้ เมื่อย้าย Layer มาแล้วจะเปลี่ยนสีให้ตาม Layer ที่สร้างไว้ Layer ที่ถูกนำมาใส่ จะเป็น Sub Layer ของ Layerที่สร้าง
การใส่สี และกำหนดค่าต่างๆ ให้กับ Layer
ทำได้โดยดับเบิ้ลคลิกบนที่ว่างของ Layer จะมีหน้าต่าง Layer Option แสดงขึ้นมา สามารถเปลี่ยน ชื่อ สี และอื่นๆ ได้จากที่นี่
การล็อค และ การลบ Layer
ให้คลิกช่องที่อยู่ถัดจากไอคอนรูปดวงตาบน Layer จะเป็นการล็อค และปลดล็อคก็เพียงคลิกที่เดิมซ้ำอีกครั้ง สามารถล็อค Sub Layer ได้โดยไม่ต้องล็อค Layer ใหญ่ หรือถ้าจะล็อคทั้งหมดก็ล็อคที่ Layer ใหญ่ ส่วนการลบ Layer ก็เพียงคลิกที่ Layer นั้นแล้วมาคลิกที่ไอคอนถัง
การใส่ภาพที่โปรแกรม Illustrator / Importing Image
ทำได้โดยใช้เมนู File - Place เลือกภาพจากคอมพิวเตอร์ ภาพที่ใส่เข้ามาจะเป็นแบบ Smart Object
การ Crop Image with a Mask
โปรแกรมนี้ไม่สามารถทำ Crop ได้่ ทำได้แต่การใช้ Mask ปิดบังส่วนที่ไม่ต้องการให้เห็น วิธีทำโดยให้ใช้ Rectangle Tool มาลากคลุมบนภาพ ส่วนที่เราต้องการให้แสดง จากนั้นกำหนดไม่ให้มี Fill and Stroke แล้วคลิก Selection ภาพร่วมด้วย
ขั้นตอนต่อไปให้ไปที่เมนู Object - Clipping Mask - Make หรือคีย์ลัด Ctrl + 7 ก็จะเห็นภาพเท่ากับขนาดของ Rectangle และเปิดส่วนที่ Rectangle บังภาพอยู่ จากนั้นให้คลิกเลื่อน Rectangle ไปตำแหน่งที่ต้องการบังให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง
ถ้าต้องการยกเลิก Clipping Mask ให้ใช้เมนู Object - Clipping Mask - Release หรือคีย์ลัด Ctrl + Alt + 7 หรือถ้าต้องการแก้ไข Mask ก็เลือก Edit Mask จะสามารถปรับเปลี่ยนขนาดของ Mask ได้
การใช้ Image Trace Panel
เป็นการนำเอาภาพมาแปลงจาก Pixel เป็น Vector Path วิธีทำก็เพียงเลือกภาพที่มีอยู่เพื่อนำเข้ามาที่โปรแกรม Illustrator จากนั้นใช้เมนู Window - Image Trace ก็จะได้หน้าต่างๆ Image Trace เพื่อทำการตั้งค่าต่างๆ เมื่อตั้งค่าเรียบร้อยให้กดที่แถบ Expand บนแถบควบคุมเครื่องมือ ภาพนั้นก็จะถูกเปลี่ยนจาก Pixel เป็น Path การตั้งค่าส่วนมากแล้วจะปรับภาพสีให้เป็น Black and White แล้วมาปรับค่า Threshold เพื่อเพิ่มสีดำ
การทำ Arrange Object
คลิก Object ที่ต้องการทำการ Arrange แล้วคลิกขวาเลือกรูปแบบการ Arrange เช่น Bring to Front, Bring Forward, Send Backward, Send to Back
โดยการเปิดเมนู Window - Symbol เพื่อเปิด Symbol Panel จากนั้นคลิก Symbol ที่ต้องการใช้แล้วลากมาที่ Artboard ปุ่มซ้ายมือล่างบน Symbol Panel คือ Symbol Libraries ในส่วนนี้จะมี Symbol หลายแบบให้เลือกใช้ สามารถปรับขนาด Symbol โดยการปรับเลื่อนขนาด หรือ Rotate ที่ Bounding Box ของ Symbol นั้นได้เลย
การใช้ Symbol Tools
ใช้สำหรับปรับแต่ง Symbol ให้เกิดรูปแบบต่างๆ ก่อนใช้ให้คลิกเลือก Symbol ก่อน จากนั้นก็คลิกเลือกเครื่องมือที่ต้องกาน แล้วมาคลิกตรงจุดที่้ต้องการใส่ Symbol บน Artboard แต่ละรูปแบบ ถ้ากดปุ่ม Alt จะทำให้เกิดการแสดงผลต่างๆ ที่กลับกัน
- Symbol Sprayer Tool เป็นเหมือนกับการพ่นสเปร์ยแต่แทนที่จะเป็นสี กับเป็น Symbol ที่ได้เลือกไว้ ถ้าคลิกค้างไว้ก็จะยิ่งมี Symbol แสดงออกติดกันมาก
- Symbol Shifter Tool เครื่องมือนี้มีไว้สำหรับใช้กับ Symbol ที่สร้างขึ้นมาแล้ว และต้องการเปลี่ยนตำแหน่ง วิธีทำโดยการคลิกที่ Symbol นั้นแล้วลากไปยังตำแหน่งใหม่ที่ต้องการ
- Symbol Scruncher Tool เครื่องมือที่ใช้ในการเลื่อน Symbol เข้ามาหากัน
- Synbol Sizer Tool เครื่องมือที่ใช้ในการเพิ่มขนาด Symbol โดยการคลิกที่ Symbol นั้น
- Symbol Spinner Tool เครื่องมือที่ใช้สำหรับคลิกแล้วปรับตำแหน่งเพื่อ Rotate Symbol เมื่อคลิกแล้วจะเห็นลูกศร ต้องการปรับไปทิศทางใหนก็ให้ลูกศรชี้ไปทางนั้นแล้วปล่อยเม้าส์
- Symbol Stainer Tool เครื่องมือที่ใช้สำหรับเปลี่ยนสี โดยการเลือกสี แล้วคลิกที่ Symbol ที่ต้องการเปลี่ยน
- Symbol Screener Tool เครื่องมือที่ใช้สำหรับ สำหรับสร้าง Transparency Effect โดยการคลิกที่ Symbol นั้น การคลิกแต่ละครั้งจะมีผลกับระดับ Transparency
- Symbol Styler Tool การใช้เครื่องมือนี้จะต้องใช้ร่วมกับ Graphic Style เมื่อสร้าง Symbol ขึ้นมา แล้วต้องการใส่ Graphic Style ลงบน Symbol นั้น ให้คลิกที่เครื่องมือแล้วไปเลือก Graphic Style บน Graphic Panel ที่ต้องการ จากนั้นมาคลิกที่ Symbol ที่สร้างไว้
เมื่อต้องการสร้าง Smbol กลุ่มใหม่ ให้คลิกที่ Artboard ก่อน เพื่อ Un-select กลุ่มเดิม แล้วค่อยทาเพื่อสร้างกลุ่มใหม่ หรือถ้าต้องการเพิ่มให้กับกลุ่มเดิมก็ Select ที่กลุ่มนั้นก่อน แล้ว Spray เพิ่ม
การสร้าง Symbol
ให้เลือก Symbol ที่สร้างขึ้นมา แล้วคลิกลากเข้าไปใน Symbol Panel จะมีหน้าต่าง Symbol Option ตั้งชื่อและปรับแต่ง Type โดยให้เลือกเป็น Graphic อย่างอื่นไม่ต้องเลือก ถ้าต้องการเก็บ Symbol ที่สร้างให้คลิก Symbol ที่สร้างแล้วคลิกลูกศรที่แถบ Symbol Panel เลือก Save Symbol Library เลือกที่เก็บ เหมือนกับการสร้างอย่างอื่น ถ้าต้องการเก็บในโปรแกรมก็ตั้งชื่อแล้ว Save ถ้าต้องการเก็บไว้ใน Hard Drive ก็เลือกแล้ว Save ไว้ใน Drive ที่ต้องการพร้อมตั้งชื่อ
เมื่อต้องการใช้ก็คลิกที่ Symbol Labrary - User Defined แล้วเลือกรูปแบบ Symbol ที่ต้องการ หรือถ้าเก็บไว้ที่ Hard Drive ให้เลือกเป็น Other Library แล้วเลือกจากที่ได้เก็บไว้
การทำ Break Link to Symbol
ทำการคลิกลาก Symbol ที่ต้องการใช้ออกมาจาก Symbol Panel แล้วเลือกไอคอน Break Link to Symbol ที่อยู่ด้านล่าง Symbol Panel จะทำให้นั้น Symbol นั้นกลายเป็น Path จากนั้นสามารถใช้ Direction Selection Tool คลิกที่แต่ละ Path เพื่อปรับแต่ง เช่นเปลี่ยนสีได้ เมื่อปรับแต่งเสร็จก็สามารถสร้างเป็น Symbol ใหม่ได้ โดยการคลิกแล้วลากเข้าไปที่ Symbol Panel
การทำ Redefine Symbol
คือการกำหนดค่าใหม่ให้กับ Symbol เดิมที่นำมาใช้eทำ Break Link to Symbol แต่ก่อนทำต้องคลิกเลือก Symbol ที่จะทำ Redefine ก่อน วิธีทำให้คลิกที่ลูกศรบนแถบ Symbol Panel แล้วเลือก Redefine Symbol
การใช้เครื่องมือ Perspective Grid Tool
วิธีนี้เหมือนกับการทำ Vanishing Point ในโปรแกรม Photoshop จุดต่างๆ สามารถปรับตำแหน่งได้
- จุดบนสุด ควบคุมความสุงของ Grid คลิกลากขึ้นลง
- จุดด้านข้าง ซ้าย ขวา ด้านนอก ควบคุม horizon line หรือ view line คลิกลากขึ้นลง
- จุดด้านข้าง ซ้าย ขวา ด้านใน คือ vanishing point คลิกลากเพื่อคลุม object
- จุดด้านล่าง ซ้าย ขวา สำหรับเคล่ือนย้าย คลิกลากไปมา
- จุดด้านล่าง ตรงกลางคลิกลากขึ้นลงปรับ floor
- จุดด้านล่าง ด้านขวา คลิกลากขึ้นลงปรับ grid ด้านขวา คลิกสวิงไปมา
- จุดด้านล่าง ด้านซ้าย คลิกลากขึ้นลงปรับ grid ด้านซ้าย คลิกสวิงไปมา
ถ้าคลิก View - Perspective Grid สามารถเลือกรูปแบบของ Grid ได้ เช่น One, Two and Three Points Perspective ส่วนค่า Default คือ Two Points
เมื่อเลือกเครื่องมือ Perspective Grid Tool จะเห็นไอคอนแสดงส่วนของ Grid ที่มุมบนด้านซ้ายมือ สามารถคลิกเลือกแต่ละด้านได้ในไอคอน Cube นี้ หรือใช้ คียลัด 1 - 3 ได้ แทนการคลิก
การสร้าง Perspective Tool กับ Artwork (เติมบางสิ่งลงใน Artwork)
เมื่อปรับเครื่องมือคลุมวัตถุได้แล้ว สามารถเลือก Rectangular มาลากคลุมแต่ละส่วนได้ จะแนบเหมือนกับการทำ Vanishing Point ใน Photoshop แต่ก่อนที่จะนำมาลากทับ ต้องเลือกด้านบนไอคอน Cube ก่อน ถ้าต้องการปรับตำแหน่ง Rectangular ให้ใช้ Selection Toll มาคลิกลาก
สามารถใส่ Text ก็ได้ โดยพิมพ์ลงบน Artboard ตรงใหนก็ได้ จากนั้นใช้เครื่องมือ Perspective Selection Tool อยู่ที่เดียวกับ Perspective Grid Tool มาคลิกเพื่อลากไปไว้ร่วมกับส่วนทีทำ Vanishing Point ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ Selection Tool มาดับเบิ้ลคลิกที่ Text เมื่อแก้ไขเสร็จก็คลิกลูกศรที่อยู่มุมบนซ้าย หรือจะใส่ Symbol ก็ได้ การทำเหมือนกับ Text
การพิมพ์งาน Artwork Printing
เมื่อทำงานเสร็จแล้วต้องการส่งงานให้กับผู้อื่นให้ใช้เมนู File - Print หน้าต่าง Print แสดงขึ้นมา จากนั้นกำหนดค่างต่างๆ ดังนี้
Over All Setting
- Print Preset = สามารถเลือกรูปแบบ Default หรือ ถ้ากำหนดเองก็เลือก Custom
- Printer = เลือกเครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
- PPD = เลือก Default (Adobe PDF)
- General ควรปรับที่
- Media size = ขนาดกระดาษ
- Orientation = แนวกระดาษ
- Placement = ตำแหน่งภาพบนกระดาษ
- Output ควรปรับที่
- Printer Resolution = ค่าความละเอียดที่ต้องการพิมพ์
- Summary ควรปรับที่
- Warning = ตรวจเช็คว่ามีข้อความเตือนอะไรว่าต้องทำการปรับแต่งหรือเปล่า
นอกนั้นทุกอย่างจะปล่อยตามค่า Default จากนั้นเลือก Done ก็จะกลับมาที่หน้างาน แล้งให้ทำการ Save เพื่อในครั้งต้่อจะได้ทำการไปสั่ง Print ได้เลย โปรแกรมจะจำค่าที่ตั้งนี้ไว้ หรือ จะทำการสั่ง Print เลยก็ได้
การ Save Artwork
ใช้เมนู File - Save As ทำการตั้งชื่อ ในส่วนของ Save as type ให้เลือกเป็น Adobe Illustrator (*AI) เมื่อคลิก Save จะไปที่หน้า Option ให้ปล่อยตามค่า Default แล้วกด Save
การ Save File
บางครั้งการที่โปรแกรมที่ใช้นั้นเป็นเวอร์ชั่นใหม่กว่าผู้อื่นซึ่งใช้เวอร์ชั่นเก่ากว่า อาจทำให้ไม่สามารถเปิดชิ้นงานที่ส่งไปให้ได้ ดังนั้นควรจะมีการปรับการ Save ชิ้นเพื่อให้โปรแกรมรุ่นเก่ากว่าเปิดได้โดยใช้เมนู
File - Save as เมื่อตั้งชื่อแล้วกด Save จากส่วนนี้ให้เลือกในส่วนของ Version ให้เป็นรุ่นที่ต้องการ แต่ถ้าเลือก Version ที่ต่ำกว่ามากอาจทำให้โปรแกรมตัด Attribute ในเวอร์ชั่นใหม่ที่ได้สร้างขึ้นออกไป เพราะฉะนั้นตอนสร้างชิ้นงานควรนึกถึงในส่วนนี้ด้วย
การ Saving Template
คือการสร้าง Artwork เพื่อให้เป็นต้นแบบแล้วให้ผู้อื่นสามารถนำไปใช้ได้ เช่น Template ของ นามบัตร ในการสร้างนี้จะต้องทำการล็อคเลเยอร์ของ Object ที่ไม่ต้องการให้เปลี่ยนก่อนทำการ Save ดังนั้นผู้ที่นำไปใช้ จะสามารถแก้ไขเฉพาะส่วนที่กำหนดให้เปลี่ยนได้เท่านั้น เช่น สามารถเปลี่ยนเฉพาะชื่อ แล้วก็สั่งพิมพ์ได้เลย
วิธีการทำโดยใช้เมนู File - Save as Template นามสกุลของงานจะเป็น xxx.ait (adobe illustrator template) ส่วน Save as type กำหนดให้เป็น Illustrator Template (*AIT)
วิธีเปิด Template File ทำโดยใช้เมนู File - New from Template แล้วเลือกรูปแบบที่เป็น Preset หรือที่ได้สร้างไว้มาใช้งาน
การ Save ชิ้นงานให้เป็น PDF File
การส่งงานในรูปแบบนี้ดีที่สุด เพราะส่วนมากทุกเครื่องจะมีโปรแกรมอ่าน PDF File วิธีทำคือใช้เมนู File - Save as - PDF จากนั้นตั้งค่าในส่วนต่างๆ
General :
Adobe PDF Preset = เลือกเป็น Illustrator Default แต่ถ้าเลือก PDF/X จะเป็นรูปแบบของโรงพิมพ์, ส่วน Press Quality ดีที่สุด, Smallest File Size เหมาะสำหรับเว็บ
Standard = ระบบจะตั้งให้ตามการเลือกค่า Preset
Compatibility = เป็นการเลือกรูปแบบโปรแกรมที่ใช้ในการอ่านไฟล์
สำหรับส่วนอื่นๆ ก็สามารถตั้งค่าได้อีกมามาย เช่น การตั้งค่า Security ลองปรับตั้งค่ากันดูนะครับ
การ Save for Web
วิธีนี้ใช้เพื่อการลดขนาดชิ้นงานให้เล็กลงเพื่อเหมาะสมกับการใช้งานบนเว็บไซด์ วิธีทำโดยการใช้เมนู File - Save for Web สามารถ Save เป็นไฟล์อะไรก็ได้ เช่น Jpeg, gif, png แต่ถ้าชิ้นงานมี Gradient ประกอบอยู่ด้วยไม่ควรทำเป็น Gif File จากนั้นก็ปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับแต่ละประเภทไฟล์ เพื่อให้ชิ้นงานยังคงรักษารายละเอียด ความสวยงาม
การ Export to be High Resolution Bitmap Image
โดยการ Export เป็น TIFF File ซึ่งเหมาะกับงาน Commercial Print วิธีทำคือเปิดเมนู File - Export - ทำการตั้งชื่อชิ้นงาน และเลือกประเภทเป็น TIFF จะมีหน้าต้าง TIFF Option แสดงขึ้นมาเพื่อทำการตั้งค่าต่างๆ
ตามภาพ ส่วนถ้าเลือก LZW จะทำให้มีการบีบอัดไฟล์งาน
การ Copy File to Photoshop
ถ้าต้องการส่งชิ้นงานจากโปรแกรม Illustrator ไปที่โปรแกรม Photoshop เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ สามารถทำได้โดยการ Selection Object แล้วใช้คำสั่ง Copy จากนั้นใช้คำสั่ง Paste ในโปรแกรม Photoshop โดยให้เลือกเป็นแบบ Smart Object
ขณที่อยู่ในโปรแกรม Photoshop ถ้าต้องการแก้ไขงานโดยใช้โปรกรม Illustrator ให้ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ ไอคอน Smart Object จะทำให้ระบบส่งงานนั้นกลับไปทีโปรกรม Illustrator เมื่อแก้เสร็จแล้วให้ทำการคลิกกากบาทที่ Tab ของชิ้นงานนั้น จะมีหน้าต่างแสดงตามภาพด้านล่าง ให้คลิก Yes ก็จะกลับไปที่โปรแกรม Photoshop อีกครั้ง พร้อมกับอัพเดทชิ้นงานให้ด้วย
บทความการใช้งานโปรแกรม Illustrator CS6 ก็ได้เขียนมาครอบคลุมเนื้อหาเรียกได้ว่าทุกส่วน แต่เป็นเพียงการใช้งานขั้นพื้นฐานเท่านั้น จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนของเราเองนะครับ ที่ผมเขียนบทความนี้เพราะต้องการฝึกฝนใช้งานโปรแกรมนี้ประกอบกับโปรแกรม Photoshop ซึ่งเป็นบทความหลักของเว็บไซด์นี้เท่านั้นครัย แต่ก็จะพยายามเข้ามาอัพเดทให้อยู่ตลอดนะครับ
มีประโยชน์มากเลยครับ ขอบคุณมาก
ตอบลบยินดีครับ
ตอบลบโทษครับพี่ทำไม โปรแกรม Illustrator CS6 ของผมใช้คีย์ลัดต่างๆไม่ได้เลยล่ะครับพี่ ยังไงรบกวนพี่ช่วยตอบหน่อยนะครับ เมล์มาก้อๆได้ครับที่ apichet1971@gmail.com
ตอบลบขอบคุณครับ
คำถามนี้ตอบได้หลายแบบ ยังไงขอรายละเอียดเพิ่มจะได้ตอบได้ตรงกับปัญหา ถ้าหากพบว่าไม่มีคีย์ลัดกำกับไว้สำหรับเครื่องมือ หรือเมนูใด ให้ไปใส่คีย์ลัดเข้าไป ทำได้โดยไปที่เมนู edit > keyboard shortcuts แล้วคลิกที่แต่ละช่องในแถบของ shortcut (คลิกครั้งแรกเพื่อเลือก ให้คลิกครั้งที่สองจนมีกรอบสีเหลืองแสดงขึ้นมาให้เห็น จากนั้นก็พิมพ์คีย์ลัดที่ต้องการ) เสร็จแล้วให้กดปุ่ม OK
ตอบลบผมใช้CS6ทำไมใช้Fillter liquify ไม่ได้ครับ
ตอบลบตอบคุณ paiboon : ที่ว่าใช้ไม่ได้หมายถึงมันเป็นยังไงครับ เพราะตามปกติเมื่อคลิก filter > liquify ก็จะมีหน้าต่าง liquify ขึ้นมาเพื่อให้ทำการปรับแต่งได้เลย แต่ถ้าหมายถึงทำ liquify แล้วภาพมันไม่ปรับตาม ให้ลองปรับค่า brush pressure, brush density ดูครับ ยังไงก็ส่งรายละเอียดให้ผมมากกว่านี้ครับถ้าไม่ใช่อย่างที่ผมแนะนำ
ตอบลบตัวโปรเเกรมนี้สามาใช้วาดรูปลงสีได้ดีเหมือนโฟโต้ช็อปหรือเปล่าครับ
ตอบลบตอบ คุณธนูชัย : ทั้งสองโปรแกรมสามารถใช้วาดรูป และลงสีได้ดีเหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์การใช้งานระหว่างสองโปรแกรมนี้ต่างกัน โปรแกรม photoshop ลักษณะการทำงานจะทำบนพื้นฐานของ pixel แต่การทำงานของโปรแกรม illustrator จะทำงานบนพื้นฐานของ vector นั่นหมายถึงถ้ามีการขยายขนาดของวัตถุที่สร้างขึ้น ภาพนั้นจะไม่แตก ซึ่งต่างกับ photoshop ถ้ามีการขยายขนาดมากเกินไปจะทำให้ภาพแตกได้ ดังนั้นต้องแยกว่าถ้าต้องการสร้างวัตถุ เช่น โลโก้ ที่มีขนาดวัตถุเป็นรูปทรงต่างๆ หรือตัวหนังสือ ก็ควรที่จะใช้โปรแกรม illustrator แต่ถ้าต้องการปรับแต่งรูปภาพ ก็ควรที่จะใช้โปรแกรม photoshop ครับ
ตอบลบcs6 ใช้บนวินโดว์xp ได้มั้ยครับ
ตอบลบตอบคุณ narukawa aki...ใช้ได้ครับทั้งบนระบบปฎิบัติการ Windows XP and Mac...แต่ถ้าให้ดีควรเป็นระบบ 64 bits และใส่แรมให้มากหน่อย ไม่ควรต่ำกว่า 4 GB นะครับ จะช่วยให้โปรแกรมทำงานได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะถ้าใช้งานที่เป็น 3D ด้วย
ตอบลบตอนนี้มีปัญหาว่าเวลาเลือกวัตถุ เลือกที่ตัวภาพเลยจะเลือกไม่ได้
ตอบลบต้องไปจิ้มตรงขอบวัตถุ ถึงจะเลือกติด มีวิธีแก้ไหมคะ
ขอบคุณล่วงหน้าคะ
ตอบ Koyubi Hime - ไม่เข้าใจคำถาม ยังไงขอรายละเอียดมากกว่านี้ครับ
ตอบลบช่วยบอกผมที่ได้ไหมคับว่า cs6 มี filter เหมือนcs3 หรือป่าวคับ ถ้ามีช่วยบอกที่ว่ามันอยู่ตรงไหน ถ้าไม่มี ก็ช่วยบอกหน่อยคับว่าเครื่องมือ ตรง filter ของcs3 ใน cs6 มันมีรึป่าว คับผม
ตอบลบตอบ คุณ ธนวินท์
ตอบลบfilter ของโปรแกรม Ai CS6 อยู่ที่เแถบเมนู Effect แต่ไม่แน่ใจว่าเหือนกับ CS3 หรือเปล่า เพราะไม่เคยใช้ CS3 ครับ
ขอบคุณมากค่ะ ใช้โปรแกรมนี้มานาน
ตอบลบแต่ไม่เคยใช้เครื่องมือครบเลย
ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะมาก ^_^
ยินดีครับ ยังไงก็ช่วยบอกต่อๆ กันไปนะครับ ว่ายังมีเว็บไซด์ที่ต้องการให้ความรู้กับ มือใหม่ ทุกคนอย่างจริงใจครับ
ตอบลบขอศึกษาด้วยคนนะครับ
ตอบลบรู้แต่วิธีใช้พื้นฐาน ได้ข้อมูลดีๆ อย่างนี้
ต้องฝึกใช้เยอะๆเลยครับ
รบกวนถามหน่อยนะครับ (Illus CS6)
ตอบลบตอนนี้ผมมีปัญหาในการ Export File งานออกมาเพื่อทำLayout งานจริง ปรากฎว่าภาพออกมาไม่ครบตามหน้างานที่ผมทำไว้ ไม่แน่ใจเป็นเพราะอะไรครับ....ขอบคุณมากครับ
ตอบ คุณ Apiroon
ตอบลบอาจเป็นไปได้ว่า layer ของภาพที่ไม่แสดงให้เห็น ถูกปิดตาไว้ ลองเช็คดุครับ
ขอบคุณ คุณVallop Tocharoenvasin ,ผมเช็คแล้วครับ Layer เปิดตาครบทุกตัว
ตอบลบ*ตอนนี้ผมแก้ปัญหาก่อนไปExport ไปเมนูFile >Duc colour mode >แก้โหมดสี เป็น RGB mode
อาการหายครับ แต่ผมไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำ เพราะตอนเราส่งExport ก็ให้เราเลือก RGB อยู่แล้วครับ..ขอบคุณครับ
อยากทราบวิธีเก็บ Pantone สีหน่อยค่ะ เวลาเปิดโปรแกรมใหม่ Pantone ที่ทำไว้ในงานจะหายไปหมดเลย ต้อง Swatch Libraries แล้วเลือก Pantone มาใหม่ทุกครั้งเลยค่ะ เคยตั้งค่านานแล้ว พอเอาเครื่องไปลง Window ใหม่ เลยจำไม่ได้ว่าต้องตั้งค่าตรงไหน รบกวนด้วยนะคะ^^
ตอบลบตอบ คุณตั๊ก กี้...ลองชมวีดีโอตามลิ้งค์นี้ครับ น่าจะตอบคำถามได้ตรงที่ต้องการครับ http://www.youtube.com/watch?v=sHqkN3bohMg
ตอบลบขอบคุณนะคะคุณ Vallop Tocharoenvasin ^^
ตอบลบสุดยอดอ่ะหาตั้งนานมาเจอเวบนี้ตอบถูกใจมากทำให้ฉลาดขี้นมาเยอะเลยค่ะ ขอบคุณจริงๆค่ะ
ตอบลบรบกวนถามหน่อยค่ะ โปรแกรม illustrator cs6 ทำไมพิมพ์ภาษาไทยไม่ได้คะ?
ตอบลบอยากทราบว่าถ้าได้ไฟล์งานที่เค้า save แบบฝังภาพมากับลิ้งค์ แล้วเราต้องการแก้ไขภาพนั้น จะทำยังไงค่ะ
ตอบลบตอบ Sangdao sae-ieab
ตอบลบอ่านแล้วยังไม่ค่อยแน่ใจว่า ตกลงเขาวางภาพแบบ embed หรือ link file กันแน่ เพราะเขียนว่า .." แบบฝังภาพมากับลิ้งค์ " ยังไงก็ตาม ถ้าเป็นลิ้งค์ไฟล์ ก็ไม่มีปัญหา เพราะเขาต้องส่งไฟล์ภาพมากับไฟล์ ai ด้วย ก็เพียงแก้ไขโดยตรงที่ไฟล์นั้น แต่ถ้าเป็นแบบ embed หรือฝังภาพ ก็ทำได้โดย copy ภาพนั้นไปวางใน โฟโต้ชอป แล้วทำการบันทึกไฟล์เก็บไว้ จากนั้นก็มาปิดตาเลเยอร์ภาพนั้น ที่ ai หรือ จะลบทิ้งไปเลยก็ได้ แล้วค่อยนำเข้าภาพที่แก้ไขจากโฟโต้ชอปเข้ามาแทนที่ จากนั้นเมื่อมีการแก้ไขก็จะทำการอัพเดทไปที่ ai
อยากรู้วิธีตั่งค่าฟ้อนต์เริ่มต้นครับ
ตอบลบอยากรู้วิธีตั่งค่าฟ้อนต์เริ่มต้นครับ
ตอบลบartboard ผมสร้างไว้หลายหน้า แต่อยู่ ๆ ดี คลิกเลือก Artborad ไม่ได้ ต้องยังไงครับ ขอบคุณมากครับ
ตอบลบ